ที่มา ของ พระกริ่งปวเรศ

พระพุทธรูปที่จัดว่าเป็นพระเครื่องในช่วงแรกนี้มีทั้งทำจากดินและจากโลหะ แต่พระที่ใช้โลหะเป็นวัสดุในการสร้างและเมื่อเขย่าแล้วจะมีเสียงดังกริ่งๆ ที่เรียกกันว่า พระกริ่ง ได้รับการยอมรับและศรัทธาในสังคมมากกว่า ได้กล่าวโดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ[1] อาจเนื่องจากรูปแบบของพระกริ่งนั้นคือ พระไภษัชยคุรุ ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์ว่า พระกริ่งที่สร้างขึ้นทุกองค์เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตทั้งสิ้น และความเชื่อที่ว่าพระไภษัชยคุรุนั้น มีอำนาจพุทธานุภาพทำให้ผู้ที่บูชาหายจากความเจ็บป่วยไข้และพ้นภัยจากอันตรายทั้งปวง การสร้างพระกริ่งที่เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตขนาดเล็กขึ้นเพื่ออาศัยบารมีของพระไภษัชยคุรุนี้ ช่วยขจัดภยันตรายต่างๆและให้ผู้ที่พกพาติดตัวระหว่างเดินทางปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงจากที่พกติดตัว[2] จึงเป็นมูลเหตุที่สำคัญในการนับถือพระกริ่งเป็นเสมือนเครื่องรางและนำติดตัว กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศ เป็น พระกริ่งรุ่นแรก ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะ พระกริ่ง ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลายได้รับความนิยม ศรัทธา สูงสุดในวงการซื้อขายที่ถือเป็นสุดยอดพระกริ่ง การสร้างเป็นพิธีกรรมของราชสำนักบุคคลทั่วๆไปย่อมไม่มีโอกาสได้พบเห็นจำนวนการสร้างเกือบทั้งหมดบรรจุกรุที่วัดพระแก้ว ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่ชัดจึงถือเป็นของหายากและเป็นที่สุดของพระกริ่งปวเรศ

ใกล้เคียง

พระกริ่งปวเรศ พระกริ่ง พระกระโดดกำแพง พระกรัดนางกัลยาณี พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระกระยาหาร พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีสุวัตถิ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สุรามฤต พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี