การศึกษา ของ พระครูวรนาถรังษี_(ปุย_ปุญฺญสิริ)

  • พ.ศ. 2463 จำพรรษาที่วัดหัวเขา ศึกษาสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พุทธาคม จากหลวงพ่ออิ่ม (เจ้าอาวาส) ผู้ได้รับตำราถ่ายทอดมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช[4] ถ่ายทอดมาเป็นลำดับกระทั่งถึงหลวงพ่อปุย โดยได้รับคำยกย่องจากหลวงพ่ออิ่มว่า เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว ทั้งยังเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช ต่อมาจึงกราบลาหลวงพ่ออิ่มเพื่อกลับไปช่วยจัดงานฌาปนกิจศพพระใบฎีกาอินทร์ในปี พ.ศ. 2464 แต่ยังคงไปมาหาสู่ตลอดระยะเวลาหลายปี กระทั่งหลวงพ่ออิ่มมรณภาพ[2] พ.ศ. 2480
  • พ.ศ. 2464 - 2465 หลังเสร็จงานฌาปนกิจศพพระใบฎีกาอินทร์ ร่วมกับคณะศิษย์พระครูปลื้ม (พระอุปัชฌาย์) นำโดยพระอาจารย์เซ้ง จัดงานทำบุญอายุและหล่อรูปเหมือนพระครูปลื้ม แล้วจำพรรษาที่วัดพร้าว ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน พุทธาคม จากพระครูปลื้ม

ครูบาอาจารย์

พบบันทึกรายนามครูบาอาจารย์ทั้งพระภิกษุและฆราวาสที่หลวงพ่อปุยเคยศึกษา ปรากฏชื่อในสมุดไทย (สมุดข่อย) สมุดฝรั่ง และเท่าที่ลูกศิษย์ทราบ ดังนี้[7]

  • 1.พระครูปลื้ม วัดพร้าว (พระอุปัชฌาย์, ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม)
  • 2.พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจันทร์, พระกรรมวาจาจารย์, ศึกษาแพทย์แผนโบราณ และพุทธาคม)
  • 3.พระใบฏีกาอินทร์ (หลวงพ่ออินทร์ วัดราษฎรบำรุง, พระอนุสาวนาจารย์, ศึกษาหนังสือไทย และพระธรรมวินัย)
  • 4.พระมหาสุนทร ศรีโสภาค วัดราษฎรบำรุง, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ศึกษาพระปริยัติธรรม)
  • 5.หลวงพ่ออ่วม วัดเกาะ (ศึกษาการแสดงพระธรรมเทศนาแบบโบราณ)
  • 6.หลวงพ่อน้อย (เป็นพระภิกษุแถบเหนือจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นไป ยังไม่ทราบวัด, ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 7.หลวงพ่อฉาย (ยังไม่ทราบวัด, ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 8.ครูพาย (หลวงปู่เฒ่าพลาย วัดเกาะ, ศึกษาหนังสือขอม แพทย์แผนโบราณ วิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม)
  • 9.ครูอิ่ม (หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา, ศึกษาสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม)
  • 10.ครูสุฃ (สันนิษฐานว่าคือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นผู้พาไปสมัยยังจำพรรษาอยู่ที่นั่น (?) นอกจากนี้ยังพบหลักฐานหนังสือที่ระลึกร่วมงานฌาปนกิจศพหลวงพ่อเคลือบ วัดบ่อแร่ พระฐานานุกรมและศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ศุข ตกทอดอยู่ที่วัดเกาะ บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในอดีต)
  • 11.ครูชิต (ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 12.ครูทอง (ศึกษาแพทย์แผนโบราณ)
  • 13.ครูดี
  • 14.ครูวัย
  • 15.ครูต่วน
  • 16.ครูแจ่ม
  • 17.ครูผัน
  • 18.ครูแพ่ง
  • 19.ครูอ่อง จันทรคราส (ศึกษาวิชาอาคม)
  • 20.หมอคำ (ศึกษาแพทย์แผนโบราณ และวิชาอาคม)
  • 21.ก๋งบัว (ศึกษาวิชาอาคม)
  • 22.สมีฃำ (ศึกษาจากตำราสมีฃำ)
  • 23.พระอาจารย์ในจังหวัดนนทบุรี เมื่อครั้งไปจำพรรษาที่จังหวัดนนทบุรี (ยังไม่ทราบนามชัดเจน)
หลวงพ่อปุย ถ่ายที่หน้าหอสวดมนต์ (หลังเก่า)

ใกล้เคียง

พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร) พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระครูภาวนาภิรัต (ทิม อิสริโก) พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ) พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) พระครูภาวนากิจจาภิรม (สมชาย จีรปุญฺโญ) พระครูญาณวิลาศ (แดง รตฺโต) พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร)