วัยเยาว์ ของ พระครูวรนาถรังษี_(ปุย_ปุญฺญสิริ)

บิดามารดานำไปฝากเป็นลูกศิษย์วัดเกาะ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้ศึกษาเล่าเรียนและรับการอบรมสั่งสอนจากหลวงปู่เฒ่าพลาย (เจ้าอาวาส) ผู้มีศักดิ์เป็นตา โดยพำนักอยู่กับท่านตั้งแต่ อายุ 5 - 15 ปี (พ.ศ. 2443 - 2453) รวมเป็นระยะเวลา 10 ปี

ศึกษาอักขระขอม เลขยันต์ แพทย์แผนโบราณ วิชาอาคม วิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่เฒ่าพลาย ศึกษาอักขระไทยจากพระใบฎีกาอินทร์ (หลวงพ่อวัดใหม่โรงหีบ) เจ้าอาวาสวัดราษฎรบำรุง ซึ่งวัดตั้งอยู่ไม่ไกลกัน ศึกษาการแสดงพระธรรมเทศนาแบบโบราณจากหลวงพ่ออ่วม (พระลูกวัด วัดเกาะ) เป็นพระธรรมกถึกศึกษามาแต่วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร[2]

ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา สามารถท่องบทสวดมนต์ต่างๆ อาทิ เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน พระปาฏิโมกข์ ขานนาค ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หลวงปู่เฒ่าพลายจึงมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นครูต่อหนังสือแก่ผู้ที่จะบรรพชาหรืออุปสมบท ทั้งที่ยังไม่เคยผ่านการบวชมาก่อน[3]

ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ด้านวิชาอาคม แพทย์แผนโบราณ เป็นที่ไว้วางใจจากผู้เป็นพระอาจารย์และชาวบ้าน มีชื่อเสียงว่ารักษาโรคและไล่ผีได้ ภายหลังเมื่อเป็นหนุ่มให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน จนได้รับสมญานามว่า "หมอปุย" และ "หมอปุยขับผี"[4]

ส่วนการแสดงพระธรรมเทศนาแบบโบราณ ภายหลังเมื่อบวชเป็นพระแล้วมีชื่อเสียงทางด้านนี้มาก ถึงขนาดเคยมีการเทศน์สามหรือสี่ธรรมาสน์ประชัน ก็ยังเอาท่านไม่ลง เนื่องจากเทศน์มีไหวพริบดีมาก ไม่ว่าจะถามหรือตอบ ยึดหลักธรรมะและองค์แห่งพระธรรมกถึกอยู่ตลอดเวลา[2]

ภาพถ่าย หลวงพ่อปุย ในวัยหนุ่ม (พรรษาแรกๆ) หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย (ซ้าย) หลวงพ่อปุย วัดเกาะ (ขวา) พ.ศ.2502

ใกล้เคียง

พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร) พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระครูภาวนาภิรัต (ทิม อิสริโก) พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ) พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) พระครูภาวนากิจจาภิรม (สมชาย จีรปุญฺโญ) พระครูญาณวิลาศ (แดง รตฺโต) พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร)