การปฏิบัติสมณธรรม ของ พระครูวิเวกพุทธกิจ_(เสาร์_กนฺตสีโล)

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และคณะพระภิกษุสามเณร ณ วัดป่าข่าโคม จ.อุบลราชธานี

ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในทางสมถะวิปัสสนา มีความเพียรเป็นเลิศ มีความสงบเสงี่ยม กิริยามารยาทเรียบร้อย สุขุม พูดน้อย และพอใจแนะนำสั่งสอนผู้อื่นในทางนั้นด้วย เป็นผู้ใฝ่ใจในธุดงควัตรหนักแน่นในพระธรรมวินัย ชอบวิเวกและไม่ติดถิ่นที่อยู่ ต้องเดินธุดงค์ไปหาวิเวกเจริญสมณธรรมตามชายป่าดงพงเขาในที่ต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว

ปีพุทธศักราช 2434-2436 หลวงปู่เสาร์ ได้ธุดงค์ผ่านหมู่บ้านคำบง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เทศนาสั่งสอนพระอาจารย์มั่นสมัยยังเป็นฆาราวาสจนเกิดศรัทธาเลื่อมใสติดตามออกบวช และจุดนี้เป็นความยิ่งใหญ่ของวงศ์พระกรรมฐานตราบจนถึงปัจจุบัน วงศ์พระกรรมฐานจึงขนานนามพระอาจารย์เสาร์ว่า “พระปรมาจารย์กรรมฐาน”

ปีพุทธศักราช 2459 - 2464 ท่านพำนักจำพรรษาที่ถ้ำจำปา ภูผากูด ตำบลหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และได้จำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นด้วย วันหนึ่ง หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ในที่สงัดองค์เดียวท่านพิจารณาถึงอริยสัจ ได้รู้ได้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ในวันนี้ท่านก็ได้ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด จวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ จึงได้บอกกับท่านพระอาจารย์มั่นว่า “เราได้เลิกการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว” ท่านพระอาจารย์มั่นได้ยินดังนั้นก็เกิดปีติเป็นอย่างมากและได้ทราบทางวาระจิตว่า “หลวงปู่เสาร์พบวิมุตติธรรมแน่แล้วในอัตภาพนี้”

ใกล้เคียง

พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร) พระครูภาวนาภิรัต (ทิม อิสริโก) พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) พระครูญาณวิลาศ (แดง รตฺโต) พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ) พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) พระครูภาวนากิจจาภิรม (สมชาย จีรปุญฺโญ)