ประวัติ ของ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีลักษณะเป็นพระที่นั่งสององค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และพระที่นั่งเทวารัณยสถาน อันเป็นรูปแบบหนึ่งของพระที่นั่งหรือที่เสด็จออกมหาสมาคม ซึ่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา นิยมสร้างพระที่นั่งเป็นหมู่แบ่งตามห้องที่ใช้ประโยชน์ และพระราชทานนามแต่ละห้องว่าพระที่นั่งเหมือนกัน โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานกระแสพระราชดำริประกอบการออกแบบก่อสร้างสรุปได้ว่า ควรจัดให้มีห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุขของนานาประเทศที่เขามาเยี่ยมประเทศไทย บางครั้งจำเป็นต้องเชิญพระราชวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐบาล ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน คณะทูตานุทูต และบรรดาผู้เกี่ยวข้องโดยทั่วถึง ซึ่งจะต้องให้สามารถจัดเลี้ยงได้ระหว่าง 200-250 คน

เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ประมาณ 2,600 ล้านบาท โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) เสด็จแทนพระองค์ใน พระราชพิธีสมโภชพระที่นั่ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และงานแรกที่จัดขึ้นในพระที่นั่งองค์นี้ คือ งานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญ เนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549

การก่อสร้าง

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารถูกสร้านแทนที่หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแซมได้แล้ว ได้แก่

  1. พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ด้านตะวันตก ใช้เป็นห้องเครื่องลายคราม มีชื่อเรียกขานว่า "ห้องผักกาด"
  2. พระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ด้านตะวันออกเป็นห้องพระภูษา
  3. พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ บางครั้งใช้เป็นสถานที่รับรองแขก
  4. พระที่นั่งอมรพิมานมณี เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากพระเฉลียงด้านหลังพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
  5. พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ เป็นห้องประทับสมเด็จพระอัครมเหสี อยู่ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
  6. พระที่นั่งบรรณาคมสรนี เป็นห้องทรงพระอักษร อยู่ด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
  7. พระที่นั่งปรีดีราชวโรทัย เป็นห้องพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ต่อจากพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
  8. พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร เป็นห้องสมเด็จพระราชโอรสและสมเด็จพระราชธิดา ทางด้านเหนือของพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

สมโภชพระที่นั่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระที่นั่ง "บรมราชสถิตยมโหฬาร" และพระที่นั่ง "เทวารัณยสถาน" เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในพระราชพิธีสมโภชพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ได้อาราธนาพระสงฆ์ 100 รูปเจริญพระพุทธมนต์ แล้วพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระที่นั่งตามราชประเพณี

ใกล้เคียง

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งในประเทศไทย พระที่นั่งวิมานเมฆ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระทีปังกรพุทธเจ้า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท พระที่นั่งบรมพิมาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร http://maps.google.com/maps?ll=13.749359,100.4913&... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7493... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=13.749359&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.749359,100.491... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=06090...