พระนางชยเทวี

ชยเทวี (เขมร: ជយទេវី) เป็นพระมหากษัตริย์หญิงแห่งเจนละซึ่งเป็นรัฐก่อนหน้าจักรวรรดิเขมร เสวยราชย์อย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 681 ถึง 713 แต่บางแหล่งก็ว่า ค.ศ. 690–713[1]พระนางเป็นพระธิดาของพระเจ้าชัยวรรมันที่ 1 (ជ័យវរ្ម័នទី១ ชัยวรฺมันที ๑) และมีพระขนิษฐาหนึ่งพระองค์ คือ Sobhajaya ผู้ซึ่งเสกสมรสกับนักบวชอินเดียนาม Sivait Brahim Sakrasvaminพระเจ้าชัยวรรมันที่ 1 สิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 681 โดยไม่มีรัชทายาทที่เป็นชาย พระนางจึงได้สืบราชสมบัติต่อ รัชสมัยของพระนางเต็มไปด้วยความวุ่นวายทางการเมือง และการขึ้นครองราชย์ของพระนางก็เป็นที่โต้แย้ง นำไปสู่การแบ่งแยกรัฐเจนละออกเป็นเจนละบก (ចេនឡា​គោក; เจนฬาโคก) กับเจนละน้ำ (ចេនឡា​ទឹក; เจนฬาทึก)[2][3]ใน ค.ศ. 713 พระนางให้สร้างจารึกไว้ที่เมืองพระนครพรรณนาถึงช่วงเวลาอันเลวร้ายในบ้านเมือง และสิ่งต่าง ๆ ที่พระนางประทานแก่เทวาลัยของ Siva Tripurankata ซึ่งพระขนิษฐาของพระนางได้สร้างขึ้นไว้ ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับรัชกาลของพระนางหลังจาก ค.ศ. 713 อีก แต่จารึกหลักหนึ่งระบุว่า ใน ค.ศ. 716 มีพระมหากษัตริย์พระนาม "ปุษกร" (Pushkara) หรือ "ปุษกรักษ์" (Pushkaraksha) แล้ว และมีผู้สันนิษฐานว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ได้ราชสมบัติมาด้วยการสมรสกับราชนารี ซึ่งอาจเป็นพระนางก็ได้ แต่พระมหากษัตริย์ดังกล่าวอาจได้ราชบัลลังก์มาด้วยการยึดอำนาจก็เป็นได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี มีผู้เห็นว่า พระนางครองราชย์จนถึง ค.ศ. 713 เท่านั้น หลังจากนั้น ผู้ครองราชย์ คือ สัมภูวรรมัน (Sambhuvarman) จนถึง ค.ศ. 716 แล้วจึงเป็นปุษกรักษ์ ตามลำดับ[1]

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางจามเทวี พระนางสิริมหามายา พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร