โมเนยยปฏิบัติ ของ พระนาลกะ

โมเนยยปฏิบัตินั้น หากประพฤติอย่างต่อเนื่อง โดยปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ ผู้ปฏิบัติก็จะคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้เพียง 7 เดือน ถ้าปฏิบัติเป็นมัชฌิมะปานกลาง ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ 7 ปี ถ้าปฏิบัติเป็นมันทะ คือ อย่างอ่อน ก็คงจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานถึง 16 ปี แต่โมเนยยปฏิบัติเป็นวัตรปฏิบัติพิเศษที่ไม่ทรงบังคับ แต่ตรัสเตือนไว้ว่าถ้าประพฤติต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักเลยมากเกินไปจะเสียชีวิตได้ จึงควรหยุดพักเพื่อฟื้นฟูร่างกาย อย่าโหมเดินทางจาริกเกินไป แต่ก็เป็นข้อวัตรปฏิบัติสำคัญในการขัดเกลากิเลส และเป็นการอนุเคราะสัตว์โลก ถึงขนาดว่าในเรื่องโกลาหล 5 มีโมเนยยปฏิบัติอยู่ด้วย เพราะเพียงเทวดาได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสบอกโมเนยยปฏิบัติในอีก 7 ปีข้างหน้า สวรรค์ถึงกับโกลาหล เพราะโมเนยยปฏิบัติเป็นวัตรปฏิบัติพิเศษที่กำหนดให้พระภิกษุต้องออกเดินทางไปในที่ต่างๆ ทำให้คนมีโอกาสทำบุญมากมายจนมาเกิดเป็นเทวดาได้มากมาย โมเนยยปฏิบัติเมื่อเริ่มตั้งใจอธิษฐานฝึกแล้วจะรับบิณฑบาตจากสถานที่ใดก็รับที่นั้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่อาจจะรับครั้งที่สองอีก, เทศนาให้ใครฟังจะไม่เทศน์ในสถานที่นั้นฟังซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง เพราะต้องเดินทางเปลี่ยนสถานที่ต่อไป, ไปพักใต้โคนไม้ที่ไหน หรือกุฏิไหนก็พักได้แค่คืนเดียว จะไม่หวนกลับมาพักครั้งที่สองอีก ฯลฯ ประพฤติแบบนี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นจึงต้องสัญจรเร่ร่อนไปเรื่อยๆ และกลับมาซ้ำที่เดิมอีกก็ไม่ได้, พระเจ้าอโศกมหาราช องค์ที่ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ในอินเดีย (ของฝ่ายเถรวาท) เมื่อ พ.ศ. 235 นั้น พระองค์ท่านทรงพอพระทัยและตรัสสรรเสริญวิธีการฝึกแบบโมเนยยะนี้มากที่สุด ถึงกับมีพระราชโองการออกมาว่า พระภิกษุสงฆ์ในศาสนาพุทธควรจะประพฤติตนตามหลักการแห่งโมเนยยปฏิปทานี้.