สถาปัตยกรรมและกายภาพ ของ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

แบบพระบรมรูป

พระบรมสาทิสลักษณ์หมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ลักษณะของพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปหล่อประทับนั่งบนพระอาสน์ คือ เก้าอี้องค์ใหญ่ (Throne) ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมทัพกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์พระหัตถ์ซ้ายทรงถือกระบี่ พระบรมรูปมีต้นเค้าจากพระบรมสาทิสลักษณ์ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งเป็นภาพเขียนหมู่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ช่างเขียนภาพชาวต่างชาติเขียน แต่ประติมากรได้นำมาปรับองค์ประกอบใหม่ โดยมิได้ปั้นแบบให้มีพระมาลาภู่ขนนกวางบนพระหัตถ์แต่เปลี่ยนพระหัตถ์ขวาให้ทรงถือคฑาแทน ส่วนพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เป็นรูปหล่อของพระองค์ในช่วงเวลาขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประทับยืนอยู่ด้านซ้ายของสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์[9]

สถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์

ภาพกว้างของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

พระบรมรูปสองรัชกาลตั้งอยู่บนฐานที่สูงจากพื้นสนามหญ้ารวมสี่ชั้น มีน้ำพุและสวนอยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน ฐานของพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งอยู่ด้านหน้าวงเวียนเสาธงชาติ และตรงพอดีกับมุขด้านหน้าของหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบกับพื้นที่มหาวิทยาลัยส่วนนี้เป็นพื้นที่เปิดโล่งหน้ากว้าง สังเกตได้ตั้งแต่ถนนพญาไท บริเวณนี้จึงทำหน้าที่เส้นนำสายตาที่ชัดเจน รวมถึงยังมีจุดสนใจอยู่ใจกลางพื้นที่ด้วย อาจารย์กี ขนิษฐานันท์เป็นผู้ออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม ท่านเคยกล่าวถึงการออกแบบภูมิทัศน์ของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าเอาไว้ว่า [10]

พระบรมราชานุสาวรีย์และเสาธงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

...การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลทำให้พื้นที่โล่งตรงกลางมีจุดสนใจ (Focal Point) ส่วนคณะอักษรศาสตร์เก่าสองหลังปัจจุบันนี้เรียกว่าเทวาลัย ทางส่วนกลางก็กำลังจะปรับ แล้วเอามาใช้ประโยชน์ส่วนกลาง...

– กี ขนิษฐานันท์

นอกจากจะเป็นจุดสนใจทางภูมิสถาปัตยกรรม (Focal Point) บริเวณโดยรอบลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชยังเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เป็นแกนสีเขียว (Green Axis) บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามผังแม่บทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 ปี เป็นพื้นที่ซับน้ำที่มีพืชปกคลุมดินเป็นบริเวณกว้างจึงลดการสะท้อนความร้อนจากแสงแดด และเป็นที่เปิดโล่งไม่กี่แห่งในย่านธุรกิจของเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[11]

ใกล้เคียง

พระบรมสารีริกธาตุ พระบรมมหาราชวัง พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล พระบรมราชา (มัง) พระบรมบรรพต พระบรมรูปทรงม้า พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า http://www.thai-architecture.com/ http://www.thai-architecture.com/download/pinyo_cv... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.cca.chula.ac.th/protocol/yensira/385-mo... http://www.green.chula.ac.th/campus01.html http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?News... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Two_Ki... https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSer... https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSer...