หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกโดยย่อว่า หอประชุมจุฬาฯ เป็นหอประชุมใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเป็นมาคู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นที่อาคารแห่งนี้หลายเหตุการณ์ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครหอประชุมจุฬาฯ เป็นสิ่งปลูกสร้างที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของภูมิทัศน์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ เช่น การขุดสระน้ำด้านหน้าประตูใหญ่ ตัดถนนรอบสนามรักบี้และสร้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มอบรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นให้แก่หอประชุมจุฬาฯ[2][3]พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีพระราชทานแก่นิสิตที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกก่อนที่กิจกรรมนี้จะมีขึ้นในอีกหลายมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา เป็นที่มาของวันทรงดนตรี หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเป็นสถานที่ถือกำเนิดของ "วันทรงดนตรี"[4]หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นคู่มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2482 นิสิตและบุคลากรของจุฬาฯ ล้วนผูกพันและมีโอกาส ได้เข้าร่วมพิธีกรรมและกิจกรรมอันหลากหลายที่อาคารหลังนี้ นับตั้งแต่กิจกรรมแรกของการเป็นนิสิต คือพิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่ พิธีปฐมนิเทศนิสิตหอพักของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิธีไหว้ครู เปิดเทศกาลงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อสำเร็จการศึกษา อาคารหลังนี้ก็เป็นสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมในวาระสำคัญต่าง ๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ[5]

หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย
สถาปนิก พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์)
เมือง กรุงเทพมหานคร
หมายเหตุ การบูรณะและปรับปรุงในปี พ.ศ. 2557 เพื่อเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเภท หอประชุม, หอจัดแสดงดนตรี
ประเทศ ประเทศไทย
สถานะ เปิดใช้งาน
ขนาด กว้าง 25.60 เมตร, ยาว 56.60 เมตร สูง 2 ชั้น หรือ 29.10 เมตร
รางวัล รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำ พ.ศ. 2545 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
โครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อผนังด้วยอิฐ
ปรับปรุง ครั้งแรก พ.ศ. 2527
ครั้งที่สอง พ.ศ. 2557
เริ่มสร้าง 18 กันยายน พ.ศ. 2481 - 31 มกราคม พ.ศ. 2482[1]
ที่ตั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
ผู้ออกแบบผู้อื่น รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงษ์

ใกล้เคียง

หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอประชุมกองทัพเรือ หอประชุมนักบวช หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร หอประชาชน หอประชุมสุวรรณสมโภช หอประชุมฟินแลนเดีย หอพระนาก หอพระธาตุมณเฑียร หอพระแก้ว

แหล่งที่มา

WikiPedia: หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://asaconservationaward.com/index.php/2016-06-... http://www.prachachat.net/news_detail.php http://www.arts.chula.ac.th/events/arts96/exhibiti... http://www.cca.chula.ac.th/protocol/graduation-cer... http://www.cu100.chula.ac.th/story-en/promoting-in... http://www.memohall.chula.ac.th/ http://www.memohall.chula.ac.th/article/%E0%B8%9E%... http://www.memohall.chula.ac.th/history/%E0%B8%9B%... http://www.pr.chula.ac.th/index.php/15-article/113... http://www.prm.chula.ac.th/cen28.html