ประวัติ ของ พระปทุมเทวาภิบาล_(ราชบุตร)

พระปทุมเทวาภิบาล (ราชบุตร) เจ้าเมืองหนองคายคนที่ ๒ มีนามเดิมว่า ท้าวหน้า ในพงศาวดารเมืองยโสธรกล่าวว่ารับราชการเป็นกรมการเมืองยโสธรในตำแหน่ง ราชบุตรเมืองยโสธร ในสมัยที่พระสุนทรราชวงศา (สีชา) เป็นเจ้าเมืองยโสธร[1] ซึ่งในเอกสารเรียกว่า เจ้าราชบุตรบ้านสิงโคก ภายปราบหลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ ได้ตามเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เมื่องครั้งเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีไปราชการทัพเมืองเวียงจันทน์ พร้อมด้วยท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เมื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์สำเร็จ เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ให้ราชบุตร (หน้า) ทำราชการ ณ เมืองหนองคาย โดยรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระอุปฮาด (หน้า) อุปฮาดเมืองหนองคาย โดยปรากฏตามเอกสาร ประวัติท้าวสุวอเจ้าเมืองหนองคาย ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ เรื่อง เมืองนครจำปาศักดิ์[2] ซึ่งเป็นคณะอาญาสี่ กรมการเมืองหนองคายชุดแรก ประกอบด้วย

๑. ท้าวสุวอธรรมา (ท้าวบุญมา) เป็น พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย

๒. ราชบุตร (ท้าวหน้า) เมืองยโสธร เป็น อุปฮาด

๓. ท้าวพิมพ์ น้องชายพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เป็น ราชวงศ์

๔. ท้าวปิตา หลานพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา)เป็น ราชบุตร

ในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคาย ถึงแก่อนิจกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระอุปฮาด ดำรงตำแหน่งเป็น พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายคนที่ ๒ โดยปรากฏในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทร์ ระบุว่า พระอุปฮาด (เจ้าราชบุตรเมืองสิงโคก) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองหนองคาย เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๑๖ ตรงกับปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ความว่า

"...ศักราชได้ ๑๒๑๔ ตัว ปีเต้าไจ้ เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันอาทิตย์ มื้อฮวยเส็ด ยามกองงาย เจ้าสุวอรวงศา ผู้เป็นพระปทุมเทวาเจ้าเมืองหนองคายนิพพาน มื้อนั้นแล ศักราชได้ ๑๒๑๕ ตัว ปีกาเป้า เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ วันพฤหัสบดี จึงให้เผาศพเจ้าเมืองแล ศักราชได้ ๑๒๑๖ ปีกาบยี เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันอังคาร เจ้าราชบุตรบ้านสิงโคก ผู้เป็นอุปฮาด ขึ้นนั่งเมืองหนองคาย มื้อนั้น..."[3]

ใกล้เคียง

พระปทุมุตรพุทธเจ้า พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) พระปทุมพุทธเจ้า พระปทุมเทวาภิบาล (ราชบุตร) พระปทุมราชาที่ 2 พระปทุมราชาที่ 1 พระปทุมเถระ (โสม) พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท