ประติมานวิทยา ของ พระพิฆเนศ

พระคเณศถือว่าได้รับความนิยมมากในศิลปะอินเดีย[35] และมีพระลักษณะที่หลากหลายไปตามเวลา ต่างจากในเทพฮินดูส่วนใหญ่[36] มีพระลักษณะทรงยืน ร่ายรำ ทรงเอาชนะอสูรร้าย ประทับกับพระบิดาและมารดาในลักษณะพลคณปติ (พระคเณศวัยเยาว์) หรือประทับบนบัลลังก์ รายล้อมด้วยพระชายา

พระลักษณะทั่วไป

พระลักษณะของพระคเณศที่มีพระเศียรเป็นเป็นช้างนั้นพบมาตั้งแต่ในศิลปะอินเดียยุคแรก ๆ [37] ปกรณัมในปุราณะระบุถึงสาเหตุมากมายถึงที่มาของพระเศียรที่ทรงเป็นช้าง[38] นอกจากนี้ยังพบพระลักษณะ “พระเหรัมภะ” คือปางห้าเศียร และปางอื่น ๆ ที่มีจำนวนพระเศียรหลากหลายเช่นกัน[39] คัมภีร์บางส่วนระบุว่าพระองค์ประสูติมาพร้อมกับพระเศียรที่เป็นช้าง บ้างก็ระบุว่าทรงได้รับพระเศียรนี้ในภายหลัง[40] ความเชื่อหนึ่งที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดคือพระองค์ทรงถูกสร้างขึ้นโดยพระปารวตีทรงปั้นดินเหนียวขึ้นเพื่อปกป้องพระองค์เองและพระศิวะก็ทรงตัดพระเศียรของพระคเณศออกและประทานพระเศียรช้างให้แทน[41] ส่วนรายละเอียด ศึกต่าง ๆ ที่นำไปสู่การประทานเศียรใหม่นั้น แตกต่างกันไปตามเอกสารต่าง ๆ [42][43] อีกความเชื่อกนึ่งที่แพร่หลายเช่นกัน ระบุว่าพระคเณศประสูติจากเสียงพระสรวลของพระศิวะ แต่ด้วยพระลักษณะของพระคเณศที่ประสูติออกมานั้นเป็นที่ล่อตาล่อใจเกินไป จึงทรงประทานพระเศียรใหม่ที่เป็นช้าง และพระอุทร (ท้อง) อ้วนพลุ้ย[44]

พระนามที่เกิดขึ้นในภายหลังที่สุดคือ “เอกทันต์” หรือ “เอกทนต์” (งาเดียว) มาจากพระลักษณะที่ทรงมีงาเพียงข้างเดียว อีกข้างนั้นแตกหัก[45] บางพระรูปที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นปรากฏทรงถืองาที่หักในพระหัตถ์[46] ลักษณะ “เอกทันต์” นี้มีความสำคัญมาก ดังที่ระบุในมุทกลปุราณะ ซึ่งระบุว่าทรงกลับชาติมาเกิดครั้งที่สองเป็น “เอกทันต์”[47] ส่วนพระลักษณะของพระอุทรพลุ้ยนั้นถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นและพบปรากฏตั้งแต่ในศิลปะยุคคุปตะ (ศตวรรษที่ ๔ - ๖)[48] พระลักษณะนี้ก็มีความสำคัญมาก ดังที่ในมุทกลปุราณะระบุพระนามที่ทรงกลับชาติมาเกิดตามพระลักษณะนี้ถึงสองพระนาม คือ “ลัมโภทร” (ท้องห้อยเหมือนหม้อ), “มโหทร” (ท้องใหญ่)[49] พระนามั้งสองนี้มากจากคำภาษาสันสกฤต “อุทร” ที่แปลว่าท้อง [50] ใน “พรหมันทปุราณะ” ระบุว่าพระนาม “ลัมโภทร” มาจากการที่จักรวาลทั้งปวง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ไข่จักรวาล หรือ “พรหมาณทัส”)[51] พบ ๒ - ๑๖ พระกร[52] พระรูปส่วนใหญ่ของพระองค์มีสี่พระกร ซึ่งพบระบุทั่วไปในปุราณะต่าง ๆ[53] พระรูปในยุคแรก ๆ ปรากฏสองพระกร[54] ส่วนปางที่ทรงมี ๑๔ และ ๒๐ พระกรพบในอินเดียกลาง ช่วงศตวรรษที่ ๙ และ ๑๐[55] นอกจากนั้นยังพบพญานาคประกอบอยู่กับเทวรูปโดยทั่วไป มีหลากหลายรูปแบบ[56] ซึ่งในคเณศปุราณะระบุว่าพระองค์ทรงพันวาสุกิรอบพระศอ[57] บางครั้งก็มีการแสดงภาพของงูหรือนาคในลักษณะของด้ายศักดิ์สิทธิ์ (วัชณโยปวีตะ; yajñyopavīta)[58] คล้องรอบพระอุทร, ทรงถือในพระหัตถ์, ขดอยู่ที่เข่า หรือประทับเป็นบัลลังก์นาค ในบางงานศิลป์ปรากฏพระเนตรที่สามบนพระนลาฏ (หน้าผาก) บ้างปรากฏรอยขีดเจิม (ติลัก) สามเส้นในแนวนอน[59] ในคเณศปุราณะมีกำหนดทั้งติลักและจันทร์เสี้ยวบนพระนลาฏ [60] ลักษณะนี้ปรากฏในปาง “พาลจันทร์” (Bhalachandra - ดวงจันทร์บนหน้าผาก)[61] สีพระวรกายมักถูกระบุว่าเป็นสีแดง[62] สีต่าง ๆ ของพระวรกายมีความสัมพันธ์กับปางต่าง ๆ บางปาง[63] ปางทำสมาธิต่าง ๆ ตรงกับสีพระวรกายต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ข้อมูลนี้ระบุไว้ขัดเจนใน “ศรีตัตตวนิธิ” ตำราประติมานวิทยาฮินดู เช่น สีขาวสื่อถึงปาง “เหรัมภะ คณปติ” และ “รินะ โมจนะ คณปติ” (Rina-Mochana-Ganapati; พระคณปติผู้ทรงหลุดพ้นจากโซ่ตรวนที่ตรึงไว้)[64] ส่วน “เอกทันตคณปติ” จะมีสีพระวรกายน้ำเงินเมื่อทรงทำสมาธิ[65]

พาหนะ

ในงานยุคแรก ๆ ไม่ปรากฏพระสาหนะ (พาหนะของเทพเจ้า)[66] มุทคลปุราณะระบุว่าในพระชาติที่เสวยแปดพระชาติ พระองค์ทรงใช้หนูในห้าพระชาติ ส่วนอีกสามพระชาติทรงใช้ วกรตุนทะ (สิงโต), วิตกะ (นกยูง) และ เศศะ (พญานาคสูงสุด)[67] ส่วนในคเณศปุราณะระบุว่าในสี่พระชาติ (มโหตกล; Mahotkala) พระชาติ โมโหตกล ทรงใช้สิงโต, พระชาติ มยูเรศวร ทรงใช้นกยูง, พระชาติ ธุมรเกตุ ทรงใช้ม้า และ พระชาติคชนณะ ทรงใช้หนู ในศาสนาไชนะมีปรากฏพระวาหนะเป็นทั้งหนู ช้าง เต่า แกะ และนกยูง[68]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระพิฆเนศ http://sornsornn.wixsite.com/ganesha/blank-28 http://sealang.net/burmese/dictionary.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/... https://books.google.com/?id=oF-Hqih3pBAC&pg=PA6&d... https://books.google.com/books?id=E0Mm6S1XFYAC https://books.google.com/books?id=KpIWhKnYmF0C https://books.google.com/books?id=tMWrAgAAQBAJ https://www.posttoday.com/dhamma/586153 https://www.sanook.com/horoscope/16965/