ถึงแก่อนิจกรรม ของ พระพิทักษ์เจดีย์_(แก่น_รามางกูร)

ป่วยถึงแก่กรรม ณ กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ก่อนปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล ๑๗ ปี หลังเป็นพระพิทักษ์เจดีย์ ๖ ปี ด้วยเหตุเดินทางฟ้องร้องเจ้าเมืองทั้ง ๓ เรื่องแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมและการเก็บเงินส่วยข้าวถังข้าเลก[12] สาส์นตราพระพิทักษ์เจดีย์ (เทบปะจิด) ว่า ...ครั้นถึงปีวอก จศก (พ.ศ. ๒๔๒๗) พระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น) ลงไปกรุงเทพฯ ทำคำร้องทุกข์ขึ้นกราบทูลในสมเด็จกรมพระบำราบปรปักษ์ยังหาทันได้ขึ้นมาไม่ พระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น) ป่วยถึงแก่กรรมอยู่กรุงเทพฯ...[13] พื้นเมืองพนมระบุถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๔๒๘ (จ.ศ. ๑๒๔๗) ด้วยอาการไข้เจ็บนาน ๕ เดือน พระราชทานเพลิงที่กรุงเทพฯ ท้าวโพธิสารกรมการเชิญอัฐิบรรจุธาตุทิศเหนือพระธาตุพนม[14]


ก่อนหน้าพระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น รามางกูร)ถัดไป
พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)นายกองข้าพระธาตุพนม,
หัวหน้าผู้ควบคุมตัวเลกข้าพระธาตุพนม

ท้าวโพธิสารพินิต (อินทะวงส์ บุคคละ)

ใกล้เคียง

พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ) พระพิรุณ พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) พระพิราพ พระพิมลพัฒนาทร (พวน วรมงฺคโล) พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร) พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) พระพิมลธรรม