ประวัติการจัดสร้าง ของ พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัตน์จตุรทิศ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัตน์จตุรทิศ จัดสร้างขึ้นตามคติความเชื่อเรื่องพุทธไชยปราการเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยกรมการรักษาดินแดน กองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดย พลโท ยุทธ สมบูรณ์ เจ้ากรมการรักษาดินแดนในขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนื่ยวจิตใจและปกป้องคุ้มภัยให้กับประชาชนทุกทิศตามความเชื่อแต่โบราณ โดยได้นำต้นแบบมาจาก "พระพุทธนิรโรคันตราย" พระพุทธรูปประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระผู้มีพระราชทานก่อตั้งกรมการรักษาดินแดน อีกทั้งเมื่อพิจารณาความหมายของพระนามของพระพุทธรูป อันหมายถึง "การปราศจากซึ่งภยันตรายทั้งปวง" นับว่าเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะสถาปนาให้เป็นพระสี่มุมเมืองของไทย แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระ

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททอง ณ กรมการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2511 และได้โปรดเกล้าฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 4 จังหวัดเข้ารับพระราชทานพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ณ พระตำหนักจิตลดารโหฐานพระราชวังดุสิต เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำทิศทั้งสี่ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2511

ใกล้เคียง

พระพุทธเจ้า พระพุทธชินราช พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูป พระพุทธชินสีห์ พระพุทธโสธร พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี พระพุทธรูปแห่งบามียาน พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร) พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ