ความสำคัญ ของ พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล

พระงามหรือหลวงพ่อใหญ่หรือพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล เป็นพระพุทธรูปที่พบในประเทศไทยตามลักษณะงดงามศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนโท) สร้างเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ ณ บริเวณใกล้ถ้ำเขาบ่องาม เพื่อเป็นที่บรรจุพระพุทธรูปเก่าชำรุดในบริเวณนั้น แล้วขนานนามใหม่เมื่อ พุทธศักราช๒๔๖๙ ว่าพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล หมายถึง พระพุทธรูปที่สร้างในวาระกึ่ง ๕,๐๐๐ แห่งพุทธกาลไรพระศกบนพระเศียรทำด้วยไหกระเทียมจำนวนมาก ต่อมาเกิดพายุฝนทำให้ไรพระศกหรือไหกระเทียมนี้หลุดลงมา ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้บูรณะซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดและทาสีองค์พระพุทธรูปใหม่พร้อมทั้งติดสายล่อฟ้าวัดจันทรนิมิตร สร้างเสร็จเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จมาทรงร่วมงานฉลองมีงานผูกพัทธสีมาในครั้งนี้ด้วยพร้อมกับพระราชทานนามวัดว่า "วัดสิริจันทรนิมิตร" พร้อมโปรดเกล้าฯ ยกวัดสิริจันทรนิมิตร ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร โดยมีชื่อเต็มว่า วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท)และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะเป็นเทศกาลไหว้พระงาม ที่ประชาชนชาวลพบุรีถือปฏิบัติติดต่อกันมา

ใกล้เคียง

พระพุทธเจ้า พระพุทธชินราช พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูป พระพุทธชินสีห์ พระพุทธโสธร พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี พระพุทธรูปแห่งบามียาน พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร) พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ