กำเนิดพระพุทธรูป ของ พระพุทธรูป

พระคันธารราฐพระพุทธชินราชพระอจนะ

แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด ศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ซึ่งมีมาก่อนศาสนาพุทธ ก็ไม่มีรูปเคารพเป็นเทวรูปเช่นกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คน ถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุกในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก

คราวแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน), ตรัสรู้ (พุทธคยา), ปฐมเทศนา (สารนาถ) และปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า

ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ 2,200 ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งสมณะทูต จำนวน 500 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกศิลา แคว้นคันธารราฐ จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่าง ๆ นับว่า "เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา" แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน

พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า ในตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ได้พรรณาเรื่องพระพุทธรูปองค์แรกไว้ว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ทรงรำลึกถึงพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก จึงโปรดฯให้ช่างหาไม้แก่นจันทน์หอมที่ดีที่สุด มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปอันงดงาม มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธองค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระราชมณเฑียร

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จกลับจากดาวดึงส์ และเสด็จมายังเมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลอาราธนาให้เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ครั้นพระพุทธองค์เสด็จไปถึง พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ได้ขยับองค์จากพระแท่นที่ประดิษฐาน เพื่อถวายความเคารพพระศาสดา ครานั้นพระพุทธองค์จึงทรงยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นห้าม พระไม้แก่นจันทน์จึงกลับไปประทับยังพระแท่นที่เดิม พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นเช่นนั้นก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใสศรัทธา แต่ตำนานนั้นถือว่ายังไม่สามารถหาหลักฐานได้

ส่วนการสร้างพระพุทธรูปจริง ๆ นั้นเริ่มมีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า "โยนา" หรือ "โยนก" โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธารราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนา ซึ่งถูกเขียนบันทึกเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก เรื่องนี้ก็คือ มิลินทปัญหาได้มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธารราฐ ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีลักษณะต่าง ๆ ตามพุทธประวัติ (ปางพระพุทธรูป)

พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธารราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธารราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธารราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็ก ๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์

ใกล้เคียง

พระพุทธรูป พระพุทธรูปแห่งบามียาน พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระพุทธรูปเล่อชาน พระพุทธรูปแห่งสุลตานคัญช์ พระพุทธรูปศิลาขาว พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพุทธรูปใหญ่ พระพุทธรูปประทับนั่งจากคันธาระ พระพุทธรูปแห่งเบเรนีกี