การค้นพบ ของ พระพุทธรูปแห่งสุลตานคัญช์

อี. บี. แฮริส ถ่ายภาพกับพระพุทธรูปจากสุลตานคัญช์, ราวปี 1861/1862

อี. บี. แฮริส (E. B. Harris) วิศวกรทางรถไฟ เป็นผู้ค้นพบพระพุทธรูปนี้ขณะทำการสำรวจซากปรักหักพังโบราณใกล้กับสถานีรถไฟสุลตานคัญช์ที่เขากำลังก่อสร้างอยู่ เขาได้ตีพิมพ์รายละเอียดเกี่ยวกับการค้นพบนี้โดยละเอียด ประกอบภาพถ่ายและแบบแปลนของซาก เขาบรรยายว่าพบพระบาทขวาของพระพุทธรูปที่ความลึกสิบฟุตจากพื้นผิวดิน[9] แฮริสส่งพระพุทธรูปกลับไปยังเบอร์มิงแฮมในประเทศอังกฤษ โดยมีผู้ผลิตโลหะชาวเบอร์มิงแฮมและอดีตนายกเทศมนตรีนครเบอร์มิงแฮม ซามูเอล ธอร์นทัน (Samuel Thornton) เป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายการขนส่ง และเสนอพระพุทธรูปนี้แก่สภานครเพื่อจัดแสดงในหอศิลป์ที่มีการเสนอว่าจะสร้างขึ้นไว้ในปี 1864

นับจากนั้นมา พระพุทธูปองค์นี้จัดเป็นงานแสดงชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์เบอร์มิงแฮม (BMAG) ถือเป็นของบริจาคชิ้นสำคัญที่หอศิลป์ได้รับ รวมถึงเป็นสมบัติชิ้นสำคัญที่สุดของหอศิลป์[8] ในรายงานของแฮริสยังระบุถึงการค้นพบพระพุทธรูปขนาดเล็กกว่าอีกจำนวนหนึ่ง ในจำนวนนี้มีพระพุทธรูปหินปางประทับนั่งสององค์ องค์หนึ่งปัจจุบันเป็นของพิพิธภัณฑ์บริทิช และอีกองค์หนึ่งเป็นของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย ซานฟรานซิสโก นอกจากนี้ยังมีเศีบรพระพุทธูปหินจากสุลตานคัญช์จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ตในลอนดอน[10][11][12]

ใกล้เคียง

พระพุทธเจ้า พระพุทธชินราช พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธโสธร พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูป พระพุทธรูปแห่งบามียาน พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร) พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระพุทธรูปแห่งสุลตานคัญช์ http://www.routledge.com/books/details/97804154921... http://searchcollection.asianart.org/view/objects/... http://collections.vam.ac.uk/item/O64237 http://www.bbc.co.uk/birmingham/content/articles/2... http://www.bmagic.org.uk/objects/1885A1116 https://www.academia.edu/43702963/With_a_face_of_r... https://archive.org/details/historyoffineart00smit https://archive.org/details/historyoffineart00smit... https://web.archive.org/web/20161009124334/http://... https://www.britishmuseum.org/collection/object/A_...