ศิลปะ ของ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี จัดเป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยศิลปะสกุลสุโขทัย-เชียงแสนแปลง แบบท่านมหาสวน ปัจจุบันปรากฏเพียง 4 องค์ในประเทศไทย [4]โดยแบ่งเป็นปางขัดสมาธิราบ 2 องค์ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร) และปางมารวิชัยอีก 2 องค์ คือองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี (วัดคุ้งตะเภา) และองค์หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย) แต่องค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบท่านมหาสวนเพียงองค์เดียว ที่มีพุทธลักษณะตามขนบอินเดียโบราณคือ พระหัตถ์ไม่ได้วางบนพระหนุ (เข่า) แต่วางบนพระชงค์ และนิ้วพระหัตถ์แตะพื้นดิน (ฐาน) บอกแม่พระธรณี อันเป็นพุทธลักษณะสำคัญที่เนื่องด้วยปางมารวิชัยตามความในพระไตรปิฎกตอนพระพุทธองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ผศ.เขียน ยิ้มศิริ[9] ผู้กล่าวยกย่องพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถมุนี

ผศ.เขียน ยิ้มศิริ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม กล่าวยกย่องคุณค่าทางศิลปะของพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีไว้ในหนังสือของท่านว่า พระพุทธรูปแบบท่านมหาสวนเช่นนี้ "เป็นศิลปะชั้นครู (Masterpiece)" ซึ่งนับว่าหายากมาก ทั้งหมดมีขนาดเท่ากันคือขนาดเท่าคน มีจุดเด่นที่พระพักตร์อันสงบงามยิ่ง โดย ผศ.เขียน ยิ้มศิริ ยกย่องพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีไว้ในหนังสือพุทธานุสรณ์ว่า

...อารมณ์การแสดงออกของท่านมีความสงบเป็นสำคัญ ยิ่งดูท่านนานเพียงไร ก็ยิ่งจับใจในความสง่างามของท่านยิ่งขึ้นเพียงนั้น...

– ผศ.เขียน ยิ้มศิริ

ผศ.เขียน ยิ้มศิริ กล่าวอีกว่าพระพุทธสิหิงค์ (องค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) ไม่สามารถอัญเชิญมาเปรียบเทียบความงดงามสู้กับพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีได้เลย เพราะพระพุทธรูปแบบหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีนับว่ามีจิตวิญญาณภายในมากกว่า ดังนั้นจึงนับได้ว่าในด้านความมีวิญญาณผุดผ่องภายในเชิงศิลปะของหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีนั้นนับได้ว่าเป็นเลิศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผศ.เขียน ยิ้มศิริ ได้สรุปสันนิษฐานไว้เป็นแนวคิดของท่านว่า พระพุทธรูปแบบหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีนั้น สร้างขึ้นโดย "ผู้มีภูมิสง่าราวกับกษัตริย์"[4][10] หรือสร้างขึ้นโดยผู้มีบุญบารมีหรือโดยพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองนั่นเอง

ใกล้เคียง

พระพุทธเจ้า พระพุทธชินราช พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธโสธร พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูป พระพุทธรูปแห่งบามียาน พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร) พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี http://www.khonnaruk.com/html/19artist/19artist_02... http://www.youtube.com/watch?v=FT7f0GXdBOU http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E... http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E... http://library.uru.ac.th/stat/images/cont12388.pdf http://utt.onab.go.th/download/serviceutt/128.doc http://utt.onab.go.th/index.php?option=com_content... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/D/... http://www.npdc.mi.th/Npdc/buddha.htm https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Phra_B...