พระมเหสีเจิน
พระมเหสีเจิน

พระมเหสีเจิน

พระมเหสีเจิน (จีน: 珍妃; พินอิน: Zhēn Fēi; ประสูติ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419 — สิ้นพระชนม์ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2443) พระนามที่ทรงได้รับหลังจากการสิ้นพระชนม์แล้วว่า พระมเหสีเค่อชุ่น (恪顺皇贵妃; Kèshùn Huángguìfēi) หรือพระสมัญญานามอย่างไม่เป็นทางการว่า มเหสีไข่มุก (Pearl Consort) เป็นพระมเหสีในพระเจ้ากวังซวี่แห่งราชวงศ์ชิงของประเทศจีนเดิมทรงเป็นที่รู้จักด้วยพระนาม ทาทาลา (จีน: 他他拉; พินอิน: Tātālā) ทรงเป็นธิดาของนายจางซฺวี่ (Changxu) ชาวแมนจูเผ่าทาทาลา และเป็นพระน้องนางของพระสนมจิ่น (จีน: 瑾妃; พินอิน: Jīnfēi) ซึ่งร่วมสามีเดียวกันคือพระเจ้ากวังซวี่นางทาทาลาถวายตัวเข้าวังใน พ.ศ. 2431 และเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้ากวังซวี่อย่างยิ่ง ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 ก็โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นพระสนม มีนามว่า เจินในระยะเริ่มแรก ซูสีไทเฮาโปรดในทักษะความสามารถของพระมเหสีเจินอย่างยิ่ง ทรงให้ว่าจ้างศิลปินชั้นนำของประเทศมาสอนสนมเจินในด้านศิลปะและการดนตรีด้วย อย่างไรก็ดี สนมเจินได้ชักนำให้พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยที่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเป็นพระองค์เองขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงผันพระราชหฤทัยพระเจ้าแผ่นดินให้หันไปศึกษาและรับเอามาซึ่งสิ่งที่ดีจากต่างชาติ และยังมีบันทึกว่าพระมเหสีเจินทรงสนพระทัยในการถ่ายภาพและทรงเชื้อเชิญให้ชาวตะวันตกเข้ามายังนครต้องห้ามเพื่อมาสอนพระองค์เกี่ยวกับนวัตกรรมนี้ด้วย การนิยมคบค้าสมาคมกับต่างชาติและพระบุคลิกลักษณะอันประหลาดของสนมเองคือโปรดฉลองพระองค์เป็นบุรุษ ยังให้ซูสีไทเฮาทรงเริ่มจงชังพระมเหสีเจินพระองค์นี้ขึ้นเรื่อย ๆ และเพื่อเป็นการประชดประชัน ซูสีไทเฮาทรงออกพระนามพระมเหสีว่า "ย่าเจิน" (Grandma Zhen)เมื่อพระมเหสีเจินสนับสนุนให้สมเด็จพระจักรพรรดิก่อรัฐประหารเพื่อชิงอำนาจทางการเมืองจากซูสีไทเฮา ซูสีไทเฮาซึ่งทรงสดับความก่อนก็เสด็จไปบริภาษสนมต่าง ๆ นานา และด้วยข้อหาว่าพระมเหสีทรงก้าวก่ายกิจการบ้านเมืองก็มีพระราชเสาวนีย์ให้ลงโทษเฆี่ยนตีและนำสนมไปจำขังไว้ ณ ตำหนักเย็นนับแต่นั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2443 ในเหตุการณ์ที่กองทหารผสมแปดชาติบุกยึดกรุงปักกิ่งอันเนื่องมาจากการที่ซูสีไทเฮาทรงสนับสนุนกบฏนักมวยให้ทำร้ายชาวต่างชาติ ก่อนกองผสมนานาชาติจะเข้ากรุงได้ ซูสีไทเฮาและบรรดาบุคลากรในพระราชสำนักได้ลี้ภัยไปยังนครซีอาน มณฑลฉ่านซี และก่อนหน้าจะเสด็จลี้ภัย ซูสีไทเฮาได้ทรงเบิกสนมเจินมาเฝ้าและมีรับสั่งว่า[1]เมื่อแรก เราตั้งใจจะนำเจ้าไปกับเราด้วย แต่เจ้านั้นยังอ่อนวัยและจิ้มลิ้มนัก เกรงว่าจะถูกพวกทหารต่างชาติกระทำทารุณข่มขืนเอาได้ ดังนั้น เราเชื่อว่าเจ้าคงเข้าใจว่าควรทำเช่นไรต่อไปเมื่อทรงเข้าพระทัยว่าซูสีไทเฮาหมายให้ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม พระมเหสีเจินก็ทรงร้องขอต่อซูสีไทเฮาให้ทรงอนุญาตให้พระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่ในพระนครเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจแก่ประชาชนและเพื่อเจรจากับต่างชาติ ซูสีไทเฮาทรงสดับแล้วก็ทรงพระพิโรธยิ่งนัก มีพระราชเสาวนีย์ให้บรรดาขันทีเข้ากลุ้มรุมจับพระนางไปทิ้งลงบ่อน้ำนอกตำหนักหนิงเซี่ย (Ningxia Palace) ทางเหนือของนครต้องห้าม พระนางจึงสิ้นพระชนม์ในเวลานั้นอย่างไรก็ดี นายสเตอร์ลิง ซีเกรฟ (Sterling Seagrave) นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวอาจไม่ได้เป็นพระราชเสาวนีย์โดยตรงของซูสีไทเฮาก็ได้ แต่อาจเป็นการริเริ่มหรือนำเสนอของพวกขันที หรือพระมเหสีอาจทรงกระโดดลงบ่อน้ำด้วยพระองค์เองก็ได้

พระมเหสีเจิน

ราชวงศ์ ชิง
สิ้นพระชนม์ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2443
(พระชนมายุ 24 พรรษา)
พระราชบิดา นายจางซู
พระราชสวามี กวังซวี่
ประสูติ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419

ใกล้เคียง

พระมเหสีเจิน พระมเหสีจิตรวดี พระมเหสีชี พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในพระพุทธเจ้าหลวง พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ 4 พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๑ พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ 3 พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ 2 พระมเหสีเป็งงีรัน อิสตรี ฮัจญะห์ มาเรียม พระมเหสี