พระราชประวัติ ของ พระยาคำฟั่น

พระยาคำฟั่น เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 8 ในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2 กับแม่เจ้าจันทา และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) กับแม่เจ้าพิมพา ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักร (เชื้อเจ้าเจ็ดตน)

พระยาคำฟั่น เป็นพระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ มีพระเชษฏา พระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  1. พระเจ้ากาวิละ พระเจ้านครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 1 (นับเป็น "เจ้านครลำปาง องค์ที่ 3" ในราชวงศ์ทิพย์จักร
  2. พระยาคำโสม พระยานครลำปาง องค์ที่ 4
  3. พระยาธรรมลังกา พระยานครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
  4. พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้านครลำปาง องค์ที่ 5
  5. เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
  6. เจ้าสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
  7. พระยาอุปราชหมูล่า
  8. พระยาคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
  9. เจ้าสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
  10. พระเจ้าบุญมา พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

เจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับแม่เจ้าตาเวย ราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง (หรือเมืองกันตะระวดี) อันเป็นดินแดนกะเหรี่ยงที่รุ่งเรืองและร่ำรวยมากไปด้วยไม้ขอนสักอันล้ำค่า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้รับพระราชทานพระนามอันเป็นมงคลยิ่งแก่แม่เจ้าตาเวย ว่า "แม่เจ้าเนตรนารีไวย" แม่เจ้าตาเวยได้รับมรดกส่วนพระองค์ ในฐานะธิดาเจ้าฟ้าเมืองยางแดง เป็นที่ดินป่าไม้ขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 400,000 กว่าไร่ ซึ่งปัจจุบันที่ดินดังกล่าวราชสำนักสยามได้ตัดสินให้เป็นป่าไม้ชั้น 2

เจ้าคำฟั่น ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราชวงศ์[5]เมืองเชียงใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมา จ.ศ. 1176 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระดำริให้รื้อฟื้นเมืองลำพูนไชยซึ่งร้างอยู่ให้กลับเป็นเมือง จึงโปรดเกล้าเลื่อนพระยาราชวงศ์คำฟั่นเป็นพระยาลำพูนไชย ครองเมืองลำพูนตั้งแต่วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ศกนั้น[6] ปีต่อมาทรงเลื่อนพระยาลำพูนคำฟั่นเป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่[7] ถึง จ.ศ. 1185 จึงโปรดให้เลื่อนเป็นพระยาเชียงใหม่[8] มีพระนามว่าเจ้ามหาสุภัทรราชะ[9] หรือ เจ้ามหาสุภัทราราช[10]

พระยาคำฝั้น ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8 จ.ศ. 1187 ปีระกา[11] ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368 แต่ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่าเป็นวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368 สิริอายุได้ 71 ปี[12]

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)