การพระศาสนา ของ พระยาชัยสุนทร_(เก_ณ_กาฬสินธุ์)

อัญเชิญหลวงพ่อองค์ดำจากเมืองภูแล่นช้าง

ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)[9] ครั้งหนึ่ง พระยาชัยสุนทร (เก) ได้เดินทางไปตรวจราชการที่เมืองภูแล่นช้าง และได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งซึ่งหล่อด้วยทองสำริด เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ศิลปะสกุลช่างเวียงจันทน์ ประดิษฐานที่วัดนาขาม บ้านนาขาม เมืองภูแล่นช้าง ซึ่งเป็นวัดร้างมาแต่โบราณ ชาวบ้านไม่ได้เอาใจใส่พระพุทธรูปและปล่อยให้สิม (พระอุโบสถ) ผุพังไปตามสภาพกาล มีดินถมพระพุทธรูปจมมิดฐานแอวขัน (ฐานบัลลังก์) พระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นมาประดิษฐาน ณ เมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันพระพุทธรูปได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

หลวงพ่อองค์ดำนี้ตามประวัติกล่าวว่า เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาได้ปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี) ได้กวาดต้อนประชาชนชาวผู้ไทมาจากอาณาจักรล้านช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีบ่อคำแดงอยู่มากในแถบบริเวณเมืองสุวรรณเขต ประชาชนชาวผู้ไทกลุ่มหนึ่งได้อพยพไปอยู่ที่เมืองภูแล่นช้างแล้วตั้งเป็นหมู่บ้าน ปัจจุบันคือตำบลนาขาม อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาอาชญาคูกิวซึ่งเป็นพระเถระที่ได้รับการยกย่องนับถือและเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกวาดต้อนมา ได้นำทองแดงและทองคำที่ได้มาจากเมืองสุวรรณเขตมาด้วย ต่อมาอาชญาคูกิวจึงได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2353 โดยมีช่างจากทางล้านนาโบราณที่เชี่ยวชาญมาเป็นผู้ แต่ว่าทองแดงมีจำนวนไม่มากพออาชญาคูกิวจึงเดินทางกลับไปนำทองแดงมาเพิ่มอีกครั้ง ภายหลังเมื่อหล่อพระพุทธรูปสำเร็จแล้ว ปรากฏว่าองค์พระพุทธรูปทำปฏิกิริยาออกซิ-เดชั่นกับออกซิเจนในอากาศเกิดเป็นสนิมสีดำเกาะทั่วองค์พระพุทธรูป เมื่อขัดสนิมออกแล้วจึงเห็นสีทองแดง เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ก็กลับเกิดเป็นสีดำเช่นเดิม ชาวบ้านจึงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อองค์ดำ ต่อมาชาวบ้านได้นำไปประดิษฐานที่วัดนาขาม บ้านนาขาม หลวงพ่อองค์ดำมีพุทธลักษณะเป็นปางซำนะมาร (ปางมารวิชัย) ขัดสมาธิราบ วัสดุทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 41 เซนติเมตร ฐานสูง 37 เซนติเมตร สูงจากฐานถึงยอดพระเมาลี 75 เซนติเมตร ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมลาว (โตธัมม์) สมัยหลวงพระบางความว่า สังกราช ราชาได้ฮ้อย ๗๒ ตัว ปีกด สะง้า เดือน ๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๕ มื้อ ฮ่วงเหม่า นักขัตตะฤกษ์ อีกหน่วยซื่อว่า ปุสสยะ สังเฆ สะมะดี มีเจ้าครูนาขาม (กิว) เป็นเค้าเป็นเจ้าอธกศรัทธา ทายก อุปสก อุปาสิกา พ่ำพร้อม น้อมนำมายังตัมพะโลหาเป็นเอกศรัทธา สร้าง พระพุทธรูปองค์นี้ไว้ให้ได้เป็นที่ไหว้และบูชาแก่คนและเทวดา ตาบต่อเท่า ๕๐๐๐ วัสสา นิพพาน ปัจจโย โหติ นิจจัง ธุวัง ธุวัง[10]

ถวายหลวงพ่อองค์ดำแก่วัดกลาง

เล่าลือกันว่า เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) ได้พบพระพุทธรูปหลวงพ่อองค์ดำแล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะนำไปประดิษฐานไว้ที่หอโฮงการเจ้าเมือง (โฮงหรือจวนสำเร็จราชการ) ที่เมืองกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการเสริมบารมีแก่ตน แต่ชาวบ้านในละแวกนั้นไม่ต้องการให้นำหลวงพ่อองค์ดำไปจากหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านมีความเคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อองค์ดำมาแต่โบราณ พระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้นำช้างทรง 5 เชือก มาอัญเชิญพระพุทธรูปออกไปให้สมฐานะผู้ปกครองเมือง ทำให้ชาวบ้านยอมถวายหลวงพ่อองค์ดำแก่พระยาชัยสุนทร (เก) ด้วยความไม่เต็มใจ เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) นำหลวงพ่อองค์ดำไปประดิษฐานที่หอโฮงการก็ทำเกิดเหตุอาเพศหลายประการแก่ตน อาทิ พ่อตาผู้เป็นบิดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรมด้วยโรคแปลกประหลาด แม่ยายผู้เป็นมารดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรม เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างนางสนมและหม่อมห้ามของพระองค์ เกิดไฟไหม้หอโฮงการ และพระองค์เองก็มีเหตุตกจากหลังช้างทรงจนได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น อาเภทเหล่านี้เป็นเหตุให้หลวงพ่อองค์ดำประดิษฐาน ณ หอโฮงการเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ได้เพียง 1 ปีเศษ ต่อมาพระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้อัญเชิญไปถวายไว้เพื่อสืบทอดพระวรพุทธศาสนาและประดิษฐานที่วัดกลางพระอารามหลวง ซึ่งในขณะนั้นอาชญาคูอ้มดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ได้ไปจำพรรษาที่วัดเหนือและต่อมาได้จำพรรษาที่วัดกลาง จนถึงสมัยของพระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงได้นำหลวงพ่อองค์ดำประดิษฐานไว้ที่กุฎิเพื่อป้องกันการสูญหาย แต่ทว่าด้วยชื่อเสียงของหลวงพ่อองค์ดำทำให้ชาวบ้านต้องมาสักการะบูชา พระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงนำหลวงพ่อองค์ดำไปแห่รอบเมืองเพื่อขอฝนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวเมืองกาฬสินธุ์ เป็นเหตุให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลทำให้ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อองค์ดำอีกนามหนึ่งว่า หลวงพ่อซุ่มเย็น ต่อมา ชาวเมืองกาฬสินธุ์เรียกขานนามว่า พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย[11]

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระยาชัยสุนทร_(เก_ณ_กาฬสินธุ์) http://webcache.googleusercontent.com/search http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cac... http://blackbuddha.myreadyweb.com/article/category... http://www.phusing.com/?name=knowledge&file=readkn... http://watsamranniwet.siam2web.com/?cid=405876&f_a... http://www.oknation.net/blog/guidepong/2010/05/11/... http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/dat... http://www.namon.kalasin.police.go.th/nm07.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/... http://my.diary.in.th/archives/110