พระประวัติ ของ พระยาชัยสุนทร_(เก_ณ_กาฬสินธุ์)

เมืองกาฬสินธุ์สมัยทรงปกครอง

ก่อน พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ยกเลิกระบบการปกครองแบบเก่า ต่อมา กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน เสด็จตรวจราชการถึงเมืองกาฬสินธุ์ พบว่าเจ้าเมืองกำลังว่างอยู่ จึงกราบทูลขอตั้งท้าวเกเมื่อครั้งดำรงบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสินธุ์ประชาธรรมให้เป็นที่พระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และให้เมืองกมลาไสยมาขึ้นอยู่กับเมืองกาฬสินธุ์เช่นเดิม[3] ต่อมาไม่นาน จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระสินธุ์ประชาธรรม (เก) เป็นที่ พระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา เมื่อสยามยุบตำแหน่งเจ้าเมืองหรือระบบการปกครองแบบคณะอาญาสี่ลง จึงโปรดฯ ให้ พระยาชัยสุนทร (เก) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ท่านแรก[4] ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นสมัยที่พระยาชัยสุนทร (เก) ปกครองเมืองกาฬสินธุ์อยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งการปกครองหัวเมืองลาวตะวันออกออกเป็น 4 กอง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสุดจินดา (เลื่อน) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาไสย และเมืองภูแล่นช้าง เมืองดังกล่าวจัดอยู่ในหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาวและเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน จากนั้นราว พ.ศ. 2437-2444 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาชัยสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางสุ)[5] ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ต่อมาจากพระยาชัยสุนทร (เก) ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หัวเมืองกาฬสินธุ์ขึ้นอยู่กับบริเวณร้อยเอ็ด[6] จากนั้นรัฐบาลสยามได้จัดการเปลี่ยนการปกครองจากการให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มาจัดการปกครองให้มีภาค จังหวัด อำเภอ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ จนกระทั่งถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้จังหวัดกาฬสินธุ์มีอำนาจปกครองอำเภอ คือ ให้อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้จังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด ให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาสินธุ์ และขุนชัยศรีทรงยศ (ศรี ฆารสินธุ์) เป็นนายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์[7] ถือเป็นอันสิ้นสุดระบบอาญาสี่ที่เคยปกครองเมืองกาฬสินธุ์มาอย่างยาวนานถึงสองร้อยกว่าปี และเป็นการยุติบทบาทของเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ที่ทรงปกครองเมืองกาฬสินธุ์มายาวนานมากถึง 12 องค์[8]

ความจงรักภักดี

พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์กรุงสยามมาก โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อครั้งพระองค์เสด็จประพาสประเทศยุโรปทั้ง 2 ครั้ง พระยาชัยสุนทร (เก) ได้นำบุตรภริยาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ดื่มน้ำพระพิพัฒสัตยาเพื่อส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ในความจงรักภักดีของพระยาชัยสุนทร (เก) มาก ทรงเคยตรัสเกี่ยวกับพระยาชัยสุนทร (เก) ว่า เป็นเจ้าเมืองรูปงาม ผิวขาว ร่างบอบบาง ทรงโปรดฯ เรียก อ้ายพระยาน้อย ซึ่งเป็นนามที่ทำให้พระยาชัยสุนทร (เก) ปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระยาชัยสุนทร (เก) ได้เล่าให้บรรดาบุตรหลานฟังเสมอมา และมักอบรมสั่งสอนให้บุตรหลานทุกคนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้ากรุงสยามทุกพระองค์ หากบุตรหลานคนใดได้มีโอกาสรับราชการ ก็ขอให้บุตรหลานทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของคนไทยด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ อย่าได้ฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นอันขาด และขอให้ทุกคนถือว่า คนกาฬสินธุ์คือญาติพี่น้องของเราทุกคน

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระยาชัยสุนทร_(เก_ณ_กาฬสินธุ์) http://webcache.googleusercontent.com/search http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cac... http://blackbuddha.myreadyweb.com/article/category... http://www.phusing.com/?name=knowledge&file=readkn... http://watsamranniwet.siam2web.com/?cid=405876&f_a... http://www.oknation.net/blog/guidepong/2010/05/11/... http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/dat... http://www.namon.kalasin.police.go.th/nm07.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/... http://my.diary.in.th/archives/110