พระราชกรณียกิจ ของ พระยาธรรมลังกา

เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระเจ้ากาวิละ
พระยาธรรมลังกา
พระยาคำฟั่น
พระยาพุทธวงศ์
พระเจ้ามโหตรประเทศ
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
เจ้าแก้วนวรัฐ

การศาสนา

ในรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกับเจ้าน้อยธรรมลังกา และขุนนางไพร่ฟ้าในการสร้างวิหารในวัดอินทขีลที่เวียงป่าซาง และวิหารวัดอินทขีล ในกลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2337 ต่อมาในปี พ.ศ. 2360 เจ้าหลวงธรรมลังกา เห็นว่ากู่ลาย วัดพระสิงห์ ได้ทรุดโทรมลงไปมาก จึงดำรให้มีการซ่อมแซมและขุดแต่งพระเจดีย์ดังกล่าว และได้พบของมีค่าเป็นอันมาก ซึ่งก็ให้บรรจุไว้ในที่เดิมแล้วปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้นต่อจนเสร็จแล้วจึงมีการฉลองใหญ่ และในปีเดียวกันก็ได้สร้างวิหารจตุรมุขของวัดพระธาตุศรีจอมทองขึ้นใหม่ โดยทำการยกเสาเมื่อเดือนหกเหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดี พร้อมกันนั้นได้สร้างมณฑปของเสาอินทขีล ที่บริเวณวัดเจดีย์หลวง และยังเริ่มก่อสร้างสถูปในที่ท่ามกลางอุโบสถภิกขุนีในวัดพระสิงห์ และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเดือนแปดเหนือ ขึ้น 10 ค่ำ ปี พ.ศ. 2361

ในปี พ.ศ. 2362 เจ้าหลวงได้ดำริให้มีการฉลองใหญ่ในวัดอุโมงค์ วัดดวงดี วัดสะเพา และวัดพันเท่า ในงานนี้มีการฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ และในเดือนแปดเหนือ ได้ดำริให้ยกเสาวิหารวัดป้านพิง วัดดอกคำ วัดเชียงยืน และวัดบุพผาราม อีกทั้งได้มีการก่อสร้างกำแพงวัดพระธาตุศรีจอมทองด้วย

ในปี พ.ศ. 2363 เจ้าหลวงธรรมลังกา ได้ไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและได้สร้างวิหารคร่อมรอยพระพุทธบาทนั้น ในเดือนหกเหนือแรม 8 ค่ำ และจากนั้นจึงได้ไปนมัสการพระบาทเจ้าข่วงเพา และสร้างพระพุทรูปขนาดใหญ่ในวัดพระสิงห์

ในปี พ.ศ. 2365 ได้ทำบุญฉลองพระอุโบสถวัดเจดีย์หลวง และในปีเดียวกันนี้เจ้าหลวงธรรมลังกา ได้ทรงผนวชที่วัดเชียงมั่นด้วย ในปีถัดมาได้ทรงดำริให้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญที่อยู่ในวัดร้างนอกเขตกำแพงเมือง เข้ามาไว้ในตัวเมือง เช่น พระเจ้าแฅ่งฅม ไว้ที่วัดศรีเกิด

การขุดเหมือง

เมื่อปี พ.ศ. 2360 ได้ทรงดำริให้เสนาข้าราชการและประชาชนขุดเหมือง 3 สาย โดยเริ่มที่จุดรับน้ำจากแจ่งหัวลินไปทางแจ่งสรีภูมิ แล้ววนไปทางแจ่งคะท้ำ สายที่สองไปตามถนนหลวงหน้าวัดดับภัยและวัดพระสิงห์ลงไป สายที่สามเลียบตามเชิงเทินทิศตะวันตกไปทางใต้ ผ่านด้านเหนือของ "หอคำ" แล้วเลี้ยวออกท่อที่แจ่งคะท้ำหน้าวัดซานมูน (วัดทรายมูลพม่า ในปัจจุบัน) โดยให้ก่ออิฐทั้งสองข้างของลำเหมืองทุกสาย ประชาชนในตัวเมืองได้ใช้ประโยชน์จากลำเหมืองทั้งสามสาย

การบูรณะกำแพงเมือง

ในยุคของเจ้าหลวงธรรมลังกา ได้มีการบูรณะซ่อมแซมกำแพงเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2361 ซึ่งกำแพงดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2339) โดยการบูรณะกำแพงเมือง เริ่มการขุดลอกคูเมืองตั้งแต่แจ่งกูเรืองไปจนถึงประตูไหยา มีความยาว 606 วา จนถึงปี พ.ศ. 2363 ได้เริ่มก่อสร้างกำแพงเมือง โดยเริ่มก่อสร้างในเวลารุ่งเช้า มีการยิงปืนใหญ่สามนัด นิมนต์ครูบาสมเด็จวัดผ้าขาว ครูบาจันทรังสี วัดพระสิงห์ และพระสงฆ์อีก 19 รูป สวดมนต์ โปรยน้ำโปรยทราย และเริ่มก่อสร้างจากแจ่งสรีภูมิเวียนไปทางซ้าย

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)