พระราชประวัติ ของ พระยาธรรมลังกา

พระยาธรรมลังกาเป็นเจ้าราชโอรสองค์ที่ 3 ในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับแม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักร"

พระยาธรรมลังกา เป็นพระอนุชาของพระเจ้ากาวิละมีพระเชษฏาพระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 10 องค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  1. พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 (นับเป็น "พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 3" ใน "ราชวงศ์ทิพย์จักร")
  2. พระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4
  3. พระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
  4. พระเจ้าดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5
  5. เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
  6. เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
  7. พระยาอุปราชหมูล่า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
  8. พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
  9. เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
  10. พระเจ้าบุญมา พระเจ้านครลำพูน องค์ที่ 2

ในปี พ.ศ. 2317 เมื่อพระเจ้ากาวิละ ร่วมมือกับพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ปลดปล่อยล้านนาจากอำนาจของพม่าได้สำเร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีได้สถาปนาพระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้ากาวิละเป็นพระยานครลำปาง และแต่งตั้งเจ้าธรรมลังกาเป็นพระยาราชวงศ์เมืองนครลำปาง[6] และได้เลื่อนอิสริยยศเป็น "พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2348

หลังจากพระเจ้ากาวิละถึงแก่พิราลัย (พ.ศ. 2356) ในปี พ.ศ. 2359 พระยาอุปราชน้อยธรรมได้ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเพื่อถวายช้างพลายเผือกเอก จึงทรงตั้งเป็นพระยาเชียงใหม่[7][8] เมื่อกลับถึงเชียงใหม่จึงรับราชาภิเษกในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2359) มีพระนามว่าเสตหัตถีสุวัณณประทุมราชาเจ้าช้างเผือก[9] และเนื่องจากได้ถวายช้างเผือกจึงได้รับสมัญญาว่าพระเป็นเจ้าช้างเผือก[10] (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) หรือ พระยาเชียงใหม่ช้างเผือก[3] (พงศาวดารโยนก)

พระยาธรรมลังกา ประชวรจนถึงแก่อนิจกรรมในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 เหนือ (ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2365) สิริอายุได้ 77 ปี[11] ทรงปกครองนครเชียงใหม่รวมทั้งสิ้น 7 ปี

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)