การครองเมืองเชียงใหม่ ของ พระยาพุทธวงศ์

เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระเจ้ากาวิละ
พระยาธรรมลังกา
พระยาคำฟั่น
พระยาพุทธวงศ์
พระเจ้ามโหตรประเทศ
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
เจ้าแก้วนวรัฐ

ด้านเศรษฐกิจ ในรัชสมัยของพระยาพุทธวงศ์ หรือเจ้าหลวงแผ่นดินเย็น นับได้ว่าเป็นช่วงที่ไม่มีศึกสงคราม มีความเจริญทางเศรษฐกิจ กำลังการผลิตของประชากรมากขึ้น แหล่งเพาะปลูกกว้างขวาง ข้าวของเครื่องใช้เริ่มจะละเมียดละไมขึ้น ข้าวปลราอาหารที่เคยผลิตหรือจัดหาเพื่อความอยู่รอดในช่วงก่อนหน้านั้น เริ่มมีมากขึ้นจนเหลือเฟือในบางครั้ง ซึ่งตลาดก็เริ่มมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า จากตลาดนัดกลายเป็นตลาดที่มีสินค้านานาชนิด โดยเฉพาะตลาดกลางการค้าขายบริเวณหน้าวัดพระสิงห์ และขยายไปยังตลาดที่ถนนท่าแพในปัจจุบัน

มีเส้นทางการค้าขายหลัก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางบก (มะละแหม่ง-ล้านนา-รัฐฉาน-ยูนนาน) และเส้นทางเรือ (ลำน้ำปิง กรุงเทพฯ-ล้านนา)

ด้านการศึกษา ในช่วงแรกยังเป็นการศึกษาในรูปแบบเดิมคือการฝึกอาชีพหรือการดำรงชีวิตตามความชำนาญในครอบครัว หรือเรียนตามสนใจของแต่ละคน ส่วนการศึกษาที่เป็นระบบนั้น จะเป็นรูปแบบของการเรียนในวัด ซึ่งไม่แตกต่างไปจากรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ แต่ที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ จำนวนวัด และจำนวนพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้น และมีการคัดลอกคัมภีร์ใบลานต่างๆ มากขึ้นตามไปด้วย

โดยรวมแล้วในรัชสมัยของพระยาพุทธวงศ์ เป็นช่วงที่นครเชียงใหม่มีความเจริญและรับรู้ถึงชนชาติอื่นและการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น มีการสัมพันธ์กับอังกฤษ และรู้จักการบริหารที่ไม่ใช้กำลังในการทำศึกสงคราม นับเป็นจุดเปลี่ยนของนครเชียงใหม่ เข้าสู่กระแสการบริหารและการเศรษฐกิจของโลก[3]

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)