พระราชประวัติ ของ พระยาพุทธวงศ์

พระยาพุทธวงศ์ หรือ เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น[3] มีนามเดิมว่านายพุทธวงศ์ เป็นเจ้าโอรสองค์ใหญ่ของนายพ่อเรือน พระราชอนุชาในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ผู้ครองนครลำปางกับแม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับแม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ต้นราชวงศ์ทิพย์จักร (เชื้อเจ้าเจ็ดตน)

พระยาพุทธวงศ์ มีพระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 5 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • พระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4
  • เจ้าราชวงศ์ (คำมูล), เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ในเจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ หนานธรรมลังกา ณ เชียงใหม่ และเป็นเจ้าปู่ทวดในแม่เจ้าส่วนบุญ ในพลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
  • เจ้าบุรีรัตน์ (กาวิละ), เจ้าบุรีรัตน์นครเชียงใหม่ - เจ้าบิดาในเจ้าหญิงศรีแก้ว (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง ชายาในเจ้ามหาพรหม ณ เชียงตุง ราชโอรสองค์ที่ 6 ในเจ้าฟ้าชายสามจุฬามณีสิริเมฆภูมินทร์ เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง องค์ที่ 1
  • เจ้าคำลือ
  • เจ้าสนธนา - ชายาในพระยาอุปราชหมูล่า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง

เมื่อพระยาอุปราชคำฟั่นได้รับการสถาปนาเป็นพระยาเชียงใหม่ เจ้าพุทธวงศ์ได้รับสถาปนาเป็นพระยาอุปราชเชียงใหม่แทนเมื่อวันที่ 31 มกราคม[4] จ.ศ. 1185 ปีมะแม[2] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2367) เมื่อพระยาเชียงใหม่คำฟั่นถึงแก่อนิจกรรม เจ้านายและขุนนางเชียงใหม่จึงทูลเชิญพระยาอุปราชพุทธวงศ์ขึ้นสืบราชสมบัติในวันที่ 20 พฤษภาคม[5] จ.ศ. 1188 ปีจอ[2] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2369) แต่พระยาพุทธวงศ์ยังคงประทับที่คุ้มเดิมหน้าวัดพระสิงห์ แม้จะได้รับทูลเชิญให้ประทับที่หอคำ ก็เกรงบารมีพระประยูรญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จึงให้สร้างหอเทียมขึ้นทางทิศใต้ของหอคำ ประทับที่หอคำได้ 7 วันรับราชาภิเษกแล้วย้ายไปประทับที่หอเทียม เฉลิมพระนามว่าภูมิปาลรัฏฐาธิปติ[6]

พระยาพุทธวงศ์ ป่วยถึงแก่อสัญกรรมในเดือน 7 ปีมะเมีย จ.ศ. 1208[7] (ราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2389)

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)