ความบาดหมางกับพระเจ้าติโลกราช ของ พระยายุทธิษเฐียร

จารึกพะเยาหลักที่ 45 (พ.ศ. 2021) ระบุว่า เจ้าพันหลวงได้นิมนต์พระเถระจากที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญกุศล สมเด็จพระราชาอโสกราช ได้เสด็จมาสดับพระธรรมเทศนา จึงอนุโมทนาด้วยกับการบุญของเจ้าพันหลวง กรณีนี้ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญ กรมศิลปากร ระบุว่า ผู้ใช้นามนี้ไม่น่าจะเป็นใครอื่น นอกจากพระยายุทธิษฐิระ โดยอาจกล่าวได้ว่าขณะนั้นพระยายุทธิษฐิระ มีอำนาจค่อนข้างมากทางฟากตะวันออกของแคว้นล้านนา ไปตลอดจนสุดเขตแดนที่ต่อเนื่องกับสุโขทัยของอยุธยา แต่การยกย่องตนเองนี้กลับไม่เป็นผลดีกับพระองค์ เพราะปีถัดมา พระเจ้าติโลกราช ทรงให้อัญเชิญ พระแก่นจันทน์ จากเมืองพะเยา อ้อมไปทางเมืองน่าน แพร่ เขลางค์(ลำปาง) ลำพูน จนถึงเชียงใหม่ นัยหนึ่งคือการแสดงพระราชอำนาจของพระเจ้าติโลกราช ให้ประจักต่อชาวล้านนาตะวันออก เพราะเส้นทางไปเชียงใหม่ อันที่จริงไม่จำเป็นต้องผ่านไปทางน่าน หรือลำปางก็ได้ ต่อจากนั้น ก็ทรงปลดพระยายุทธิษฐิระ เข้าไปช่วยราชการที่ในนครเชียงใหม่แทน ดังจารึกวัดป่าเหียง (จารึกพะเยาหลักที่ 5) (พ.ศ. 2026) เปลี่ยนพระนามการเรียกพระยายุทธิษฐิระ เป็นเพียง "ลูกพระเป็นเจ้า" แทนการเรียกยศหรือตำแหน่ง โดยที่ "พระเป็นเจ้า" ได้หมายถึงพระเจ้าติโลกราช

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)