พระยาวิชิตภักดี_(เต็งกูตีมุง)

พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูตีมุง) (มลายู: Tengku Timun) เป็นพระยาเมืองปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2425-2433 โดยเป็นรายาปัตตานีองค์ที่ 9เต็งกูตีมุงเป็นโอรสองค์โตของพระยาวิชิตภักดี(เต็งกูปูเตะ) ประสูติที่เมืองกลันตันและไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองปัตตานี เต็งกูตีมุงจึงเดินทางไปเมืองกลันตันอยู่เสมอๆ การปกครองในสมัยเต็งกูตีมุงเป็นไปด้วยความราบรื่นจนกระทั้งได้ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2433 ในรายงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อครั้งเสด็จตรวจตราราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ในปี พ.ศ.2427 ได้รายงานสภาพบ้านเมืองในสมัยเต็งกูตีมุง เป็นพระยาวิชิตภักดี เจ้าเมืองปัตตานีว่า"ตัวเมืองตั้งลำน้ำฝั่งตะวันออก มีตึกกัปตันจีนอยู่ริมน้ำหลังหนึ่ง เป็นตึกจีน 2 ชั้น หันหน้าไปตะวันออก แลมีบ้านโรงเรือนหลังคาจากสาคู ฝาขัดแตะด้วยไม้อยู่ตามริมน้ำประมาณ 50 หลังคาเรือน หน้าตึกกัปตันจีนริมน้ำมีถนน 2 สาย มีตลาดขายผ้าและผลไม้ 4-5 รา้น สองฝากถนนมีตึกจีนชั้นเดียว ตั้งค้าขายสินค้ารายเรียง สลับจากโรงจากตลอดไปตามถนนประมาณ 3 เส้น"[1]

พระยาวิชิตภักดี_(เต็งกูตีมุง)

ตำแหน่ง เจ้าเมืองปัตตานี
บิดามารดา
  • พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูปูเตะ) (บิดา)
เสียชีวิต 2433
บุตร 5 องค์
สัญชาติ มลายู

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)