ประวัติการทำงาน ของ พระยาศรยุทธเสนี_(กระแส_ประวาหะนาวิน)

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของกรมยุทธศึกษา ได้สวมเสื้อยศเสมอนายเรือตรีผู้ช่วย รับพระราชทานเงินเดือนอัตรานายเรือตรีผู้ช่วยชั้น 3 และเงินค่าวิชาชีพพิเศษประเภทที่ 2 สังกัดกรมบัญชาการเรือกลและป้อม ตามคำสั่งของกรมทหารเรือที่ 192/4273 ลงวันที่ 12 ตุลาคม ร.ศ. 127 ซึ่งนับเป็นนายทหารเรือรุ่นที่ 3 ที่สามารถนำเรือไปในทะเลลึกได้[5] และมีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ราชการตามลำดับดังนี้
- 2453 ผู้บังคับการกองแผนที่ทะเล
- 2 มิถุนายน 2467 – 31 พฤษภาคม 2470 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ
- 2475 – 2477 เจ้ากรมกรมเจ้าท่า
- 28 มิถุนายน 2475 – 6 ธันวาคม 2476 ผู้แทนราษฎรชั่วคราว
- 9 ธันวาคม 2476 – 10 พฤษภาคม 2489 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- 2 กันยายน 2475 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- 15 ธันวาคม 2476 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- 26 กุมภาพันธ์ 2476 – 22 กันยายน 2477 ประธานรัฐสภาไทยและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- 22 กันยายน 2477 – 12 กุมภาพันธ์ 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- 30 ธันวาคม 2484 ประธานกรรมการควบคุมและจัดกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวบางจำพวกในภาวะคับขัน
- 6 กรกฎาคม 2486 – 24 มิถุนายน 2487 ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
- 24 พฤษภาคม 2489 – 9 พฤศจิกายน 2490 สมาชิกพฤฒสภา
- 31 สิงหาคม 2489 – 9 พฤษภาคม 2490 ประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา
- 15 พฤษภาคม 2490 – 8 พฤศจิกายน 2490 ประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)