มรสุมในชีวิต ของ พระยาเทพหัสดิน_(ผาด_เทพหัสดิน_ณ_อยุธยา)

ดูบทความหลักที่ กบฏพระยาทรงสุรเดช

เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากพระยาพหลพลพยุหเสนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 ได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัยว่าคิดจะทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล รวมทั้งผู้อยู่เบี้องหลัง ที่พยายามจะลอบสังหาร หลวงพิบูลสงคราม โดยจับกุมผู้ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะ มีพันเอกหลวงพรหมโยธี เป็นประธาน ศาลพิเศษนี้ได้ตัดสินว่า มีการเตรียมการยึดอำนาจโดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นผู้นำ และตัดสินลงโทษประหารชีวิตนักโทษจำนวน 21 คน [2][3][4] คือ

  1. นายลี บุญตา - คนรับใช้ในบ้านหลวงพิบูลสงคราม ที่เคยใช้ปืนไล่ยิงหลวงพิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
  2. พันโท พระสุวรรณชิต (วอน กังสวร)
  3. ร้อยโท ณเณร ตาละลักษณ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระนคร
  4. นายดาบ พวง พลนาวี - พี่ชายภรรยาของพระยาทรงสุรเดช
  5. พลโท พระยาเทพหัสดิน
  6. นายดาบ ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
  7. ร้อยโท เผ่าพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
  8. ร้อยตรี บุญมาก ฤทธิ์สิงห์
  9. นายทอง ชาญช่างกล
  10. พันเอก หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกติวิสาร) - ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี
  11. พันโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
  12. พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์) - อดีตรัฐมนตรี
  13. ร้อยเอก ขุนคลี่พลพฤนท์ (คลี่ สุนทราชุน) - นายทหารประจำกองบังคับการโรงเรียนรบ
  14. พันตำรวจตรี ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์)
  15. พันตรี หลวงไววิทยาศร (เสงี่ยม ไววิทย์)
  16. พันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) อดีตรัฐมนตรี
  17. จ่านายสิบตำรวจ แม้น เลิศนาวี
  18. ร้อยเอก จรัส สุนทรภักดี - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
  19. ร้อยโทแสง วัณณะศิริ - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
  20. ร้อยโท สัย เกษจินดา - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
  21. ร้อยโท เสริม พุ่มทอง - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ

ศาลพิเศษได้เว้นโทษประหารชีวิต คงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต 3 คน คือ

  1. พันโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
  2. พลโท พระยาเทพหัสดิน
  3. พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์

นักโทษประหารชีวิตที่เหลือ ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารชีวิต รวมทั้งบุตรชายทั้ง 2 คน ของพระยาเทพหัสดิน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีใครได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาบ้างหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลที่ตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษ และไม่มีทนายจำเลย นักโทษที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต ถูกนำไปคุมขังที่เรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ในส่วนตัวของ พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ศาลเห็นว่าเคยเป็นผู้ประกอบความดีแก่ประเทศมาก่อน จึงลดหย่อนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต เช่นเดียวกับ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร โดยตลอดระยะเวลาที่ต้องโทษอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถูกจองจำเดี่ยวในห้องขังห้องสุดท้ายติดทางขึ้นลงบันได ซึ่งเป็นคนละด้านกับห้องขังของ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ซึ่งถูกจองจำเดี่ยวเช่นเดียวกัน จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2482 หลังจากที่ลูกชายทั้ง 2 ได้ถูกเบิกตัวไปประหารชีวิตแล้วในเวลาเช้ามืด พลโท พระยาเทพหัสดิน ยังไม่ทราบเรื่อง และได้ชงกาแฟเพื่อให้ผู้คุมเรือนจำนำไปให้ลูกชายเหมือนเช่นทุกวันที่เคยทำมา ถึงค่อยทราบ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ถูกจองจำอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถือเป็นที่เคารพของบรรดานักโทษคดีเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเป็นผู้อาวุโสสูงสุดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติมาก่อน

ครั้นรัฐบาลหลวงพิบูลสงครามสิ้นอำนาจลง นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ภารกิจแรก ๆ ที่รัฐบาลรีบกระทำก็คือ ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษการเมืองทั้งหมด พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 และได้รับนิรโทษกรรมในเวลา 3 ปีต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2490[1]

หลายปีต่อมา พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับหนังสือขอโทษจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ได้เข้าใจผิดในเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และขอการอโหสิกรรม

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระยาเทพหัสดิน_(ผาด_เทพหัสดิน_ณ_อยุธยา) http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country... http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country... http://www.ryt9.com/s/refg/186966 http://web.archive.org/20071017202506/www.geocitie... //www.worldcat.org/oclc/1088596914 http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Inf... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/...