รูปแบบของพระราชบัญญัติ ของ พระราชบัญญัติ_(ประเทศไทย)

การเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อให้รัฐสภาพิจารณา จะต้องเป็นไปตามรูปแบบของร่างพระราชบัญญัติ ที่กำหนดไว้ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ [7]

  1. บันทึกหลักการและเหตุผล เพื่อเป็นการแสดงขอบเขตและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ
  2. ชื่อร่างพระราชบัญญัติ เพื่อให้ทราบว่าพระราชบัญญัติมีเนื้อหาหรือสาระที่จะใช้บังคับแก่เรื่องใด
  3. คำปรารภ เพื่อทราบถึงขอบเขตของพระราชบัญญัติ
  4. บทจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ เพื่อแสดงให้ทราบว่าพระราชบัญญัติมีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตราใดบ้าง
  5. วันใช้บังคับของพระราชบัญญัติ เพื่อระบุถึงสภาพบังคับของกฎหมายว่าจะให้มีผลใช้บังคับเมื่อใด
  6. บทยกเลิกกฎหมาย เพื่อระบุว่ากฎหมายใดจะไม่ให้มีผลใช้บังคับต่อไป
  7. บทนิยาม เพื่อกำหนดความหมายของถ้อยคำหรือข้อความในกฎหมาย
  8. มาตรารักษาการ เพื่อให้มีรัฐมนตรีเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย
  9. เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติ จัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามลำดับความสำคัญเป็นกลุ่ม ๆ โดยมุ่งหมายให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
  10. บทเฉพาะกาล เพื่อรองรับการดำเนินการใด ๆ หรือผลกระทบบางประการที่เกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ
  11. บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ เพื่อกำหนดรายละเอียดบางประการแทนการกำหนดในเนื้อหาของพระราชบัญญัติ
  12. ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติต้องมีบันทึกวิเคราะห์ สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเสนอมาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์