พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2498

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับแรกของประเทศไทยซิ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2498 ซึ่งสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือกำหนดให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ 500 คนขึ้นไปหรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปสามารถจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยต้องยื่นเรื่องกับ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองทำให้พรรคการเมืองที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ได้แต่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลและสามารถเป็นโจทก์หรือจำเลยในชั้นศาลได้และในกรณีที่จะยุบพรรคการเมืองนั้นให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลโดยสาเหตุของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้สืบเนื่องจากใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ในมาตรา 26 ได้กำหนดให้ประชาชนสามารถรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้แต่ทางรัฐบาลก็เกรงว่าจะมีการนำเอากฎหมายว่าด้วยสมาคมมาบังคับใช้จึงได้มีการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ซึ่งพรรคการเมืองที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพรรคแรกคือ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่ได้จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2498พระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยคำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 8 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 [2]

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2498

วันลงนาม 28 กันยายน พ.ศ. 2498
วันเริ่มใช้ 29 กันยายน พ.ศ. 2498
วันประกาศ 28 กันยายน พ.ศ. 2498 [1]
ผู้ลงนาม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ท้องที่ใช้ ประเทศไทย
ผู้ลงนามรับรอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ผู้ตรา รัฐสภาไทย
วันลงนามรับรอง 28 กันยายน พ.ศ. 2498

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์