พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2511
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2511

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2511

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับที่ 2 ของประเทศไทยซึ่งได้ประกาศใช้แทน พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ที่ถูกยกเลิกไปตามคำสั่งของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ลงพระปรมาภิไธยให้ไว้เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511 โดยมี จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและได้ประกาศใช้เมื่อวันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2511 [1]สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือการกำหนดให้ผู้ที่จะจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองต้องจดทะเบียนในรูปแบบเดียวกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทและในมาตรา 14 ได้กำหนดให้พรรคการเมืองมีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติฉบับก่อนที่มิได้กำหนดให้พรรคการเมืองมีสถานะเป็นนิติบุคคลนอกจากนี้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้กำหนดเรื่องหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสาขาของพรรคการเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกและยังได้กำหนดให้ยุบพรรคการเมืองในกรณีที่สมาชิกของพรรคลดลงต่ำกว่า 500 คนและพรรคการเมืองไม่ได้รับเลือกตั้ง 2 ครั้งโดยพรรคการเมืองพรรคแรกที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ พรรคสหประชาไทย ที่ได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2511 โดยมี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรคพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 ถูกยกเลิกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 9 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [2]

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2511

วันลงนาม 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511
วันเริ่มใช้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2511
วันประกาศ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2511
ผู้ลงนาม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ท้องที่ใช้ ประเทศไทย
ผู้ลงนามรับรอง จอมพลถนอม กิตติขจร
วันลงนามรับรอง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์