ประวัติ ของ พระราชพงศาวดารกรุงสยาม_จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม

พระราชพงศาวดารฉบับนี้เรียบเรียงขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นสมุดไทยจำนวน 30 เล่ม แต่ปัจจุบันต้นฉบับสูญหายไป เหลือแต่ฉบับคัดลอกตัวบรรจงด้วยหมึกดำในสมุดฝรั่ง ซึ่ง J. Hurst Hayes Esq. มอบให้พิพิธภัณฑ์บริติชเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ขจร สุขพานิช ได้พบเอกสารนี้ระหว่างได้รับทุนไปค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ไทยที่สหรัฐและประเทศอังกฤษ จึงถ่ายไมโครฟิล์มเล่มต้นกับเล่มปลายส่งให้กรมศิลปากรตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบแล้วกรมศิลปากรได้ขอให้ถ่ายไมโครฟิล์มส่งมาทุกเล่มเพราะมีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย[3]

เมื่อมาในปี พ.ศ. 2507 สำนักพิมพ์ก้าวหน้าได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรให้พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในชื่อพระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นสมบัติของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมคำในวงเล็บเพื่อให้ข้อความชัดเจนขึ้น และมีเชิงอรรถเพื่อเปรียบเทียบเนื้อหากับพระราชพงศาวดาร ฉบับหอสมุดแห่งชาติ และพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้พิมพ์เผยแพร่อีกครั้งในชุดหนังสือประชุมพงศาวดารนับเป็นภาคที่ 82 เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน[4] เป็นเรื่องสุดท้ายในหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร และในปี พ.ศ. 2542 ได้ตีพิมพ์เป็นประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 2 เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539[5]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์