พระราหุล

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "'ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง"อย่างไรก็ดี ตามพระวินัยของนิกายสรวาสติวาทว่าพระนาม "ราหุล" มิได้มาจากรากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "บ่วง" แต่มาจากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "จันทรคราส" หรือที่ในภาษาไทยว่า "ราหู"[1] [2]อนึ่ง ในพระไตรปิฎกพระธรรมบท มีตอนหนึ่งว่า ความปิติปราโมทย์ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรัดชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข

พระราหุล

ราชวงศ์ ศากยะ
สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
พระนามเดิม ราหุล
นิพพาน ก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และพระพุทธเจ้า
วันประสูติ ประมาณวันที่เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช
สถานที่นิพพาน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
วรรณะเดิม กษัตริย์
เอตทัคคะ ผู้เลิศในด้านใคร่การศึกษา
พระนามอื่น เจ้าชายราหุล
ราหุลกุมาร
ราหุลศากยกุมาร
สถานที่บรรลุธรรม กรุงกบิลพัสดุ์
อาจารย์ พระโคตมพุทธเจ้า
ชาวเมือง กบิลพัสดุ์
สถานที่บวช กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
วิธีบวช ติสรณคมณูปสัมปทา