ฉบับ ของ พระวรวงศ์

ปกของ วรวงสชาดก ในปัญญาสชาดก ฉบับตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2474

พระวรวงศ์ ปรากฏอยู่ในปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติ เรียกว่า วรวงสชาดก เป็นชาดกลําดับที่ 45 นอกจากนั้นยังพบสํานวนเก่า 2 สํานวนซึ่งเป็นร้อยกรอง คือ วรวงศ์ คํากาพย์ และ ลิลิตวรวงศ์วงศ์สุริยามาตร พบในหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ส่วนอีกสองฉบับพบที่จังหวัดจันทบุรี คือ ตํานานเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ และ พระนางกาไว

ส่วนในแถบลานนา เรียก บัวระวงศ์หงส์อามาตย์ พบถึง 4 สํานวน คือ ฉบับร้านประเทืองวิทยา จังหวัดเชียงใหม่ ฉบับวัดบ้านโอ่งหลวง จังหวัดลำพูน ฉบับวัดดอยสารภี จังหวัดลําพูน ฉบับวัดนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคตะวันออก เรียก วงยะมาด พบเพียง 1 สํานวน ที่วัดม่วงขาว จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนในภาคใต้พบ 3 สํานวนคือ ฉบับนายนาค ท่าโพธิ์ อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ฉบับอําเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และฉบับสถาบันทักษิณคดีศึกษา ฉบับภาคใต้มีการแปลงเป็นเพลงกล่อมเด็กเรียก เพลงร้องเรือหรือเพลงขาน้อง[3]

ใกล้เคียง

พระวรวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์