เรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิล ของ พระวิหารของซาโลมอน

การก่อสร้าง

เยรูซาเล็มในรัชสมัยของซาโลมอน (ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล) ที่จำลองขึ้นใหม่ในยุคปัจจุบัน จากอุทยานแห่งชาติกำแพงเยรูซาเล็ม พระวิหารตั้งอยู่บนภูขาโมริยาห์แบบจำลองของพระวิหารแรก อยู่ในคู่มือคัมภีร์ไบเบิลสำหรับอาจารย์ (ค.ศ. 1922)

ตามที่ระบุใน หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 การวางรากฐานของพระวิหารเริ่มในเดือนศิฟ เดือนที่ 2 ของปีที่ 4 ในรัชสมัยของซาโลมอน และการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนบูล เดือน 8 ของปีที่ 11 ในรัชสมัยของซาโลมอน ดังนั้นจึงใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 7 ปี[11]

คัมภีร์ฮีบรูบันทึกว่าชาวไทระมีบทบาทนำในการก่อสร้างพระวิหาร หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 เล่าถึงเรื่องที่ดาวิดและฮีรามเป็นพันธมิตรกัน[12] มิตรภาพนี้ดำเนินต่อไปหลังซาโลมอนได้สืบราชบัลลังก์ถัดจากดาวิด ทั้งสองพระองค์ต่างทรงเรียกกันและกันว่าเป็นพี่น้องกัน เรื่องราวทางวรรณกรรมที่ฮีรามช่วยซาโลมอนในการก่อสร้างพระวิหารปรากฏใน 1 พงศ์กษัตริย์ (บทที่ 5–9) และ 2 พงศาวดาร (บทที่ 2–7)[13] ฮีรามตอบรับคำขอของซาโลมอนที่ให้ฮีรามจัดหาไม้สนสีดาร์และไม้สนสามใบสำหรับก่อสร้างพระวิหาร[14] ฮีรามตรัสกับซาโลมอนว่าพระองค์จะส่งไม้มาทางทะเล "ข้าพเจ้าจะผูกแพล่องมาตามทะเลถึงที่ที่ท่านจะกำหนดให้ และข้าพเจ้าจะให้พวกเขาแก้แพที่นั่น ขอท่านมารับเอา"[14] ซาโลมอนทรงส่งข้าวสาลีและน้ำมันให้ฮีรามเพื่อตอบแทนเรื่องไม้ที่ส่งมา[12] ซาโลมอนยังนำช่างฝีมือผู้ชำนาญจากไทระ ซึ่งก็มีคำเรียกว่าฮีราม (หรือ Huram-abi[15]) เข้ามากำกับดูแลการก่อสร้างพระวิหาร[12] ช่างหินจากเกบาล (บิบลอส) ทำหน้าที่ตัดหินสำหรับสร้างพระวิหาร[16]

หลังพระวิหารและพระราชวัง (ใช้เวลาสร้างเพิ่มเติม 13 ปี) สร้างเสร็จสมบูรณ์ ซาโลมอนประทานเมืองมากกว่า 20 เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของกาลิลีใกล้กับไทระเป็นการตอบแทนแก่ฮีราม[17] ฮีรามไม่พอพระทัยกับของประทานนี้ แต่ก็ตรัสถามว่า "น้องเอ๋ย เมืองที่ท่านให้เรานั้นเป็นเมืองอะไรอย่างนี้?" จากนั้นฮีนามจึงเรียกเมืองเหล่านั้นว่า "แผ่นดินคาบูล" และผู้เขียนของ 1 พงศ์กษัตริย์ 9 บอกว่าเมืองเหล่านั้นถูกเรียกด้วยชื่อนี้ "จนทุกวันนี้"[17] อย่างไรก็ตามฮีรามยังคงเป็นมิตรกับซาโลมอน[18]

หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 เพิ่มเติมบางรายละเอียดของการก่อสร้างที่ไม่ได้บรรยายไว้ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 โดยระบุว่าต้นไม้ที่ถูกส่งมาในรูปแพนั้นถูกส่งไปยังเมืองยัฟฟาบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[14] และโซโลมอนยังทรงส่งเหล้าองุ่นไปให้ฮีรามตอบแทนไม้ที่ส่งมา นอกเหนือไปจากแป้งสาลีและน้ำมันที่พระองค์ส่งให้ฮีรามเช่นกัน[19]

การย้ายหีบแห่งพันธสัญญา

1 พงศ์กษัตริย์ 8:1–9 และ 2 พงศาวดาร 5:2-10 บันทึกว่าในเดือน 7 ของปี ที่งานเลี้ยงแห่งพลับพลา[20] ปุโรหิตและชาวเลวีนำหีบแห่งพันธสัญญาจากนครดาวิดมาตั้งอยู่ภายในอภิสุทธิสถานของพระวิหาร

การถวาย

1 พงศ์กษัตริย์ 8:10-66 และ 2 พงศาวดาร 6:1–42 เล่าถึงเหตุการณ์การถวายพระวิหาร เมื่อเหล่าปุโรหิตออกจากวิสุทธิสถานหลังการวางหีบแห่งพันธสัญญาไว้ที่นั่น พระวิหารก็เต็มไปด้วยเมฆอันเปี่ยมพระเกียรติสิริซึ่งทำให้พิธีการถวายหยุดชะงัก[21] "จนพวกปุโรหิตไม่อาจยืนปรนนิบัติอยู่ได้เพราะเมฆนั้น เพราะพระสิริของพระยาห์เวห์เต็มพระนิเวศของพระยาห์เวห์" (1 พงศ์กษัตริย์ 8:10–11; 2 พงศาวดาร 5:13, 14) ซาโลมอนตีความว่าเมฆเป็น "[หลักฐาน]ว่างานแห่งศรัทธาของพระองค์ได้รับการทรงยอมรับ":[21]

"พระยาห์เวห์ตรัสว่า พระองค์จะประทับในความมืดทึบ แท้จริง ข้าพระองค์ได้สร้างพระนิเวศที่โอ่อ่าตระการตาสำหรับพระองค์ เป็นสถานที่เพื่อพระองค์จะสถิตอยู่เป็นนิตย์"

— 1 พงศ์กษัตริย์ 8:12–13

สะท้อนถึงเรื่องราวในเลวีนิติ 16:2 [22]

พระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่า "เจ้าจงบอกอาโรนพี่ชายว่า อย่าเข้าไปในอภิสุทธิสถานตามใจชอบ คือเข้าไปในม่านหน้าพระที่นั่งกรุณาซึ่งอยู่บนหลังหีบ เพื่อเขาจะไม่ตาย เพราะว่าเราจะปรากฏในเมฆเหนือพระที่นั่งกรุณา

กษัตริย์ซาโลมอนถวายพระวิหารที่เยรูซาเล็ม ภาพจิตรกรรมโดย James Tissot หรือลูกศิษย์ (ราว ค.ศ. 1896–1902)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การปล้น

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การบูรณะโดยโยอาช

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การถูกทำลายโดยชาวบาบิโลน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

พระวิษณุ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระวิหารของซาโลมอน พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม พระวินัยปิฎก พระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร ฐิตปุญฺโญ) พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช พระวิศวกรรม พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระวิหารของซาโลมอน https://tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?page... https://books.google.com/books?id=S75SDwAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=OGBGauNBK8kC&pg=... https://books.google.com/books?id=jgxCDwAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=IGR7-OSz7bUC&pg=... https://books.google.com/books?id=6-VxwC5rQtwC https://books.google.com/books?id=lu6ywyJr0CMC https://books.google.com/books?id=4DVHJRFW3mYC&pg=... https://books.google.com/books?id=YR50DwAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=OtOhypZz_pEC