พระประวัติ ของ พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช

"ธาตุหลวงเฒ่า" เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (ท้าวฝ่ายหน้า หรือ เจ้าหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 3 ที่วัดเหนือในเมืองเก่าคันเกิง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว

เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช มีพระนามเดิมว่า เจ้าฝ่ายหน้า หรือ เจ้าหน้า (ตามเอกสารของราชการไทย) สมภพเมื่อปี พ.ศ. 2269 ที่นครเวียงจันทน์ เป็นพระโอรสของเจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา) แห่งนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) กับพระนางบุศดี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าปางคำแห่งเมืองเชียงรุ้ง และเป็นพระอนุชาของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีองค์แรก

และต่อมาได้อพยพหนีราชภัยจากพระเจ้าสิริบุญสาร แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ มาพร้อมกันกับกลุ่มของเจ้าพระวอและเจ้าคำผง หลังสิ้นสงครามกับนครเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2318 แล้ว พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นพระปทุมราชวงศา ได้พาไพร่พลของตนเองจากเวียงดอนกองไปตั้งเมืองอุบลที่บ้านห้วยแจระแม

ในปี พ.ศ. 2329 เจ้าฝ่ายหน้าพร้อมกับเจ้านางอูสา แลเจ้าคำสิงห์ พระโอรสคนโต นำไพร่พลส่วนหนึ่งไปตั้งมั่นเป็นกองนอกอยู่ที่บ้านสิงห์ท่า (ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองยศสุนทรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 หรือคือ จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2334 เกิดเหตุกบฏอ้ายเชียงแก้วที่อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายนครจำปาศักดิ์ไม่สามารถรับมือได้ เนื่องจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ในเวลานั้น ถึงแก่พิราลัยกะทันหันหลังจากได้รับทราบข่าวศึก (ก่อนหน้านั้นพระเจ้าองค์หลวงฯ เองก็ประชวรเรื้อรังมานานแล้ว) เจ้าหน้าได้ร่วมมือกับพระประทุมราชวงศา (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบล ผู้เป็นพี่ชาย ยกทัพไปปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วจนราบคาบ และเจ้าฝ่ายหน้าได้จับตัวอ้ายเชียงแก้วประหารชีวิตที่แก่งตะนะ (อยู่ในแม่น้ำมูล ระหว่างอำเภอพิบูลมังสาหารกับอำเภอสิรินธรในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่กองทัพเมืองนครราชสีมาจะยกมาถึงตามรับสั่งจากกรุงเทพฯ

ใน พ.ศ. 2335 ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ ทำให้เจ้าหน้าได้รับการแต่งตั้งเป็น "เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"[2] เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ลำดับที่ 3

ใกล้เคียง

พระวิษณุ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระวิหารของซาโลมอน พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม พระวินัยปิฎก พระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร ฐิตปุญฺโญ) พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช พระวิศวกรรม พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร)