พระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จจิตรลดา

พระสมเด็จจิตรลดา

พระสมเด็จจิตรดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน (ปัจจุบันประชาชนเรียกว่า สมเด็จจิตรดา, พระจิตรดา เดิมเรียกว่า พระพิมพ์ที่ฐานพระพุทธนวราชบพิตร) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ[1] ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรดา (องค์พระสมเด็จจิตรลดาในรัชสมัยได้มีการพระราชทานเพียงครั้งเดียว)[2] โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมา แล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อ พ.ศ. 2514 และพระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เจ้าคณะภาค 13 ถวายพระธรรมเทศนาว่าด้วยการเป็นผู้นำ ผู้นำและนักปกครองทั้งหลายพึงสดับ พ.ศ. 2555การแกะแม่พิมพ์พระพุทธรูปพิมพ์ โดยมีศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรมเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย การแกะพิมพ์ พระสมเด็จจิตรดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน เป็นพุทธศิลป์แบบแม่พิมพ์ลึก แล้วใช้ดินน้ำมันกดลงบนแม่พิมพ์ลึกเพื่อถอดแบบองค์พระสมเด็จจิตรดา จากนั้นก็ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทอดพระเนตร และทรงวินิจฉัยแบบพิมพ์ พระองค์ท่านมีพระกระแสรับสั่งให้แก้ไข ตกแต่ง แบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้ง จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ด้วยพุทธศิลป์ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน แล้ว จากนั้นพระองค์ทรงนำแม่พิมพ์ที่แกะไว้ทำการถอดต้นแบบพระสมเด็จจิตรดาจากแม่ พิมพ์หิน โดยพระองค์ท่านทรงใช้วัสดุเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี จนได้ตามจำนวนพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรดาจำนวนหนึ่ง เรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อทำการหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยทรงหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง[3]

ใกล้เคียง

พระสมเด็จจิตรลดา พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จเหนือหัว พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระสมุห์เจือ ปิยสีโล พระสมเด็จนางพญา สก. พระสมัญญานาม (ประเทศจีน) พระสมณโคดม พระสมุห์สด จันทสโร พระสมุห์