ข้อมูลจำเพาะ ของ พระสมเด็จจิตรลดา

พระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งมีพระสมเด็จจิตรลดาประดิษฐานอยู่ใบกำกับพระ พระสมเด็จจิตรลดา

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย มี 2 ขนาดพิมพ์ คือ

  • พิมพ์เล็ก กว้าง 1.2 เซนติเมตร สูง 1.9 เซนติเมตร
  • พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร [4]

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย

พระสมเด็จจิตรลดา มีหลายสี ตามมวลสารที่ใช้ผลิตในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

มวลสารของพระสมเด็จจิตรดา

มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน 1 คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย ทั้งนี้ มี ศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ผู้เป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรม เป็นผู้แกะ แม่พิมพ์ ถวายเพื่อทรงพระราชวินิจฉัย แก้ไข จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย

ผงพระพิมพ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

  • ส่วนที่ 1 ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย
    • ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล
    • เส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
    • ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล
    • สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์
    • ชัน (ผงชันผสมกับน้ำมันยางกวนให้เข้ากันจนเหนียวใช้สำหรับยารอยต่อของแผ่นไม้ใต้ท้องเรือ ป้องกันน้ำเข้าใต้ท้องเรือ)และสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่งใช้แข่งขันกีฬาแหลมทอง 1967
  • ส่วนที่ 2 วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ประกอบด้วย
    • วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด
    • ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
    • ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ
    • ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี
    • ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
    • น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก[5]

แหล่งที่มาของผงพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา

  • พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2508[6]
  • พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2509
  • พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก รุ่น พ.ศ. 2509
  • พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2510
  • พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2511
  • พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2512
  • พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2513[7]
  • พระสมเด็จจิตรลดา บนแสตมป์ฉลองครบ 70 พรรษา

มวลสาร ที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดาถูกนำมาจากทุกจังหวัด ซึ่งในขณะนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทย มีจังหวัดทั้งสิ้น 71 จังหวัด ดังนี้

ภาคกลาง

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น ได้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรและพระสมเด็จจิตรลดาซึ่งติดอยู่ที่ฐานของพระ เป็นพระพุทธรูปประจำศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร มาประดิษฐาน ณ ท้องสนามหลวง

ภาคตะวันออก

มวลสารพระสมเด็จจิตรลดา

ภาคเหนือ

พระสมเด็จจิตรลดา ประดิษฐานที่พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระประธานในการเทศน์พระธรรมเทศนาโดยพระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เจ้าคณะภาค 13

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคใต้

ใกล้เคียง

พระสมเด็จจิตรลดา พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จเหนือหัว พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระสมุห์เจือ ปิยสีโล พระสมเด็จนางพญา สก. พระสมัญญานาม (ประเทศจีน) พระสมณโคดม พระสมุห์สด จันทสโร พระสมุห์