ครองเมืองนครพนม ของ พระสุนทรราชวงศาฯ_(เจ้าฝ่ายบุต)

ปี พ.ศ. 2378 เมื่อพระบรมราชา (มัง) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนมได้หลบหนีไปกับเจ้าอนุวงศ์ แล้วพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น) จึงได้มอบให้พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร มาว่าราชการเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครพนมอีกตำแหน่งหนึ่ง

ปี พ.ศ. 2381 พระสุนทรราชวงศาฯ เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้พระบรมราช (มัง) อดีตเจ้าผู้ครองเมืองนครพนมพร้อมด้วยกรมการเมืองบางคน และบุตรหลานที่อพยพหลบหนีไปกับเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองมหาชัยก่องแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กลับมาอยู่ที่เมืองนครพนมตามเดิม รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชดำริว่าพระบรมราชา (มัง) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนมก็ชราภาพ และป่วยเป็นคนพิการจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรราชวงศาฯ เป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครพนมและเจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรทั้งสองเมือง พระราชทานนามบรรดาศักดิ์และเครื่องยศให้สูงขึ้นกว่าเดิม คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกระโถนทองคำหนึ่ง โต๊ะเงิน คาวหวาน กระบี่บั้งทองหนึ่ง ปืนคาบศิลาคอลาย 2 กระบอก เสื้อกำมะหยี่ติดขลิบแถบทองตัวหนึ่ง หมวกตุ้มปี่ยอดทองคำประดับพลอยหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วตัวหนึ่ง เสื้อญี่ปุ่นลายเขียนตัวหนึ่ง แพรโล่ผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง และสัปทนสักหลาดคันหนึ่ง เป็นเครื่องยศบรรดาศักดิ์ [3] นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ในเมืองนครพนม ดังนี้ ท้าวจันโท น้องพระบรมราชา (มัง) เป็นอุปราช ท้าวอรรคราช บุตรพระบรมราชา (มัง) เป็นราชวงศ์ ท้าวอินทวงศ์ เมืองยศสุนทร เป็นราชบุตร

ในระหว่างที่พระสุนทรราชวงศาฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองนครพนม อยู่นานถึง 22 ปี ได้มีเหตุการณ์และตั้งเมืองขึ้นใหม่โดยยกกองทัพออกไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง (ดินแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) คือจากเมืองวัง เมืองพิณ เมืองนอง เมืองเซโปน เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน เมืองคำอ้อคำเขียว เมืองแสก เมืองเชียงฮ่ม เมืองผาบัง ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ คือ ผู้ไท ข่า กะโซ่ กะเลิง แสก ย้อ โย้ย ให้มาตั้งขึ้นเป็นเมืองต่าง ๆ ในท้องที่เมืองนครพนม เมืองสกลนคร เมืองมุกดาหาร และเมืองกาฬสินธุ์เกิดขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร [4] เมืองอาทมาต ต่อมาถูกยุบลงเป็นตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม เมืองรามราช[5] ต่อมาถูกยุบลงเป็นตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน เมืองอากาศอำนวย[6] เมืองท่าอุเทน[7] เมืองไชยบุรี[8][9]

ใกล้เคียง

พระสุนทรโวหาร (ภู่) พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสุริโยทัย พระสุพรรณกัลยา พระสุนทรธรรมเมธี (สุเทพ อาสโภ) พระสุธน มโนราห์ พระสุตตันตปิฎก พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) พระสุรัสวดี พระสุนทรีวาณี