พระราชประวัติ ของ พระสุริโยทัย

พระสุริโยทัยทรงเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และเข้ามาตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของพระสุริโยทัย เพราะขณะพระเจ้าแปรตะโดธรรมราชาที่ 1 กำลังปะทะกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระนางได้ไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางด้วยเกรงว่าพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่ง สวรรคตอยู่บนคอช้าง เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติคือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2091 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระบรมศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพเป็นวัดศพสวรรค์[2] (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์ในปัจจุบัน)

ใกล้เคียง

พระสุนทรโวหาร (ภู่) พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสุริโยทัย พระสุพรรณกัลยา พระสุนทรธรรมเมธี (สุเทพ อาสโภ) พระสุธน มโนราห์ พระสุตตันตปิฎก พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) พระสุรัสวดี พระสุนทรีวาณี