การพิชิตเอเชียใต้และเอเชียกลาง ของ พระเจ้ากนิษกะ

ดินแดนกุษาณะ (ลายเส้น) และขนาดสูงสุดของอาณาจักรกุษาณะสมัยพระเจ้ากนิษกะ (ลายจุดไข่ปลา), ตามในจารึก Rabatak กล่าวไว้

จักรวรรดิกนิษกะกว้างใหญ่อย่างแน่นอน จักรวรรดิขยายออกตั้งแต่ภาคเหนือของอุซเบกิสถานและทาจิกิสถานภาคเหนือของ Amu Darya (Oxus) ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและภาคเหนือของอินเดียไปถึง Mathura ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย (ศิลาจารึก Rabatak inscription ยังอ้างว่าพระองค์ทรงยึดได้เมืองปาฏลีบุตรและเมืองศรีจำปา Sri Champa ) และดินแดนของพระองค์ยังรวมไปถึงแคว้นกัสมีระ Kashmir ที่แคว้นกัสมีระนั้นมีเมืองชื่อว่า กนิษกปุระ Kanishkapur ตั้งชื่อเมืองตามพระนามของพระองค์ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมือง Baramula ซึ่งยังคงมีฐานเจดีย์ขนาดใหญ่อยู่

เหรียญบรอนซ์ของพระเจ้ากนิษกะ, พบที่เมืองโขตาน, ปัจจุบันอยู่ในประเทศจีน

ความรู้เกี่ยวกับการยึดครองเอเชียกลางรวมทั้งการสถาปนาอาณาจักรของพระองค์มีอยู่น้อยหนังสือประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ฮั่น Book of the Later Han ชื่อ Hou Hanshu บรรยายว่านายพลชื่อ Ban Chao ทำการรบต่อสู้ ที่บริเวณใกล้เมือง Khotan กับกองทัพชาวกุษาณะประมาณ 70000 นายนำโดยอุปราชชาวกุษาณะชื่อ Xie (ภาษาจีน: 謝)ไม่ทราบชื่อในภาษาอื่น ในปี พ.ศ. 633 นายพล Ban chao จะอ้างว่าตนได้รับชัยชนะ บังคับชาวกุษาณะให้ล่าถอยโดยใช้กลยุทธ์เผาทุกสิ่งทุกอย่าง scorched-earth policy เนื้อที่ของกองทัพชาวกุษาณะลดลงก่อนหน้าคริตสวรรษที่ 2 ผลสุดท้ายในยุคนั้น (กระทั่งชาวจีนได้กลับมาควบคุมในปี พ.ศ. 670) ดินแดนของราชวงศ์กุษาณะได้ขยายออกไปในช่วงยุคสั้นๆไกลไปถึง Kashgar, Khotan และ Yarkand ปัจจุบันเป็นเขตปกครองตนเองพิเศษของชาวจีนในแอ่งทาริม Tarim Basin มณฑลซินเจียงอุยกูร์ เหรียญพระเจ้ากนิษกะจำนวนมากได้ถูกค้นพบในบริเวณ Tarim Basin

การควบคุมทางดินแดนทางสายไหมและเส้นทางการค้าทางทะเลในระหว่างเอเชียใต้และโรมันอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ของพระเจ้ากนิษกะอันเป็นนโยบายของจักรพรรดิ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ