พระเจ้ากนิษกะพระพุทธศาสนา ของ พระเจ้ากนิษกะ

เหรียญทองของพระเจ้ากนิษกะที่ 1 พร้อมด้วยรูปปั้นของพระโคดมพุทธเจ้า (พ.ศ. 663)
ด้านหัว: พระเจ้ากนิษกะประทับยืน สวมเสื้อคลุมหนักแบบชาวกุษาณะและสวมรองเท้าบูท มีเปลวไฟแลบออกมาจากไหล่ พระหัตถ์ซ้ายจับหอก และกำลังบวงสรวงเหนือแท่นบูชา ตำนานภาษากุษาณะในจารึกอักษรกรีก (โดยเพิ่มอักษรกุษาณะคือ Ϸ เสียง"sh"): ϷΑΟΝΑΝΟϷΑΟ ΚΑΝΗϷΚΙ ΚΟϷΑΝΟ ("Shaonanoshao Kanishki Koshano"): "กษัตริย์แห่งกษัตริย์ พระเจ้ากนิษกะกุษาณะ"
ด้านก้อย: พระพุทธเจ้าประทับยืนในสไตล์กรีก พระหัตถ์ขวาแสดงปางอภัยมุทรา (abhaya mudra) "ให้ความไม่กลัว" พระหัตถ์ซ้ายจับกลีบผ้าจีวรของพระองค์ ตำนานในจารึกกรีก: ΒΟΔΔΟ "Boddo" พระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้ากนิษกะอยู่ที่ด้านขวา (tamgha)

ชื่อเสียงของพระองค์ในหมู่ชาวพุทธได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่พระองค์ไม่เพียงแต่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่พระองค์ยังสนับสนุนการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วย ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้คือ พระองค์เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์บำรุงดูแลการสังคายนาของชาวพุทธครั้งที่ 4 ในฐานะเป็นประธานฝ่ายฆราวาสแห่งการสังคายนา ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระวสุมิตร Vasumitra และพระอัศวโฆษ Aśvaghoṣa ในระหว่างการสังคายนานี้ศาสนาพุทธได้ถูกแยกออกเป็นนิกายมหายานและนิกายหินยาน พระพุทธรูปตามตำราลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ก็ได้ถูกสร้างขึ้นในยุคของพระองค์

พระองค์ทรงให้การสนับสนุนอย่างมากมายในการสร้างสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ กนิษกสถูปที่เมืองเปศวาร์ ประเทศปากีสถาน นักโบราณคดีผู้ที่ค้นพบฐานของสถูปในปี พ.ศ. 2451-2452 เมื่อตรวจสอบดูพบว่าสถูปนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 286 ฟุต (87 เมตร) ตามรายงานของนักบวชแสวงบุญชาวจีน ชื่อ พระถังซัมจั๋ง Xuanzang ระบุไว้ว่าความสูงของสถูป 600-700 ฟุตจีน (ประมาณ 180 - 250 เมตรหรือ 591 - 689 ฟุต) และถูกประดับประดาด้วยอัญมณี[2] แน่นอนว่าอาคารที่มีหลายชั้นอันใหญ่โตนี้เป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

พระเจ้ากนิษกะได้รับการกล่าวว่าเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดของนักปราชญ์ชาวพุทธ ชื่อ อัศวโฆษ Ashvaghosha ผู้ที่กลายมาเป็นที่ปรึกษาทางด้านศาสนาของพระองค์ในปีต่อมาภายหลัง

เหรียญทางพุทธศาสนา

เหรียญของชาวพุทธเจ้าของพระเจ้ากนิษกะค่อนข้างหายาก (แค่ 1% ในจำนวนเหรียญที่รู้จักของพระเจ้ากนิษกะ) ส่วนมากจะแสดงรูปพระเจ้ากนิษกะในด้านหัว และ พระพุทธเจ้าในท่าประทับยืนในด้านก้อย ในสไตล์กรีก มีจำนวนเล็กน้อยที่แสดงรูปพระศากยมุนีพุทธเจ้าและพระศรีอริยเมตไตรย เหรียญทั้งหมดของพระเจ้ากนิษกะมีความเหมือนกัน ในด้านดีไซน์ รูปค่อนข้างหยาบและมีสัดส่วนค่อนข้างไม่ชัดเจน รูปของพระพุทธเจ้ามักจะดูเวอร์เกินไปเล็กน้อย ขนาดของพระกรรณ(หู) และพระบาทยืดออกไป ในลักษณะแบบเดียวกับรูปของกษัตริย์ชาวกุษาณะ บ่งชี้ว่าเป็นการเรียนแบบศิลปะสไตล์กรีก

เหรียญ 3 แบบของเหรียญชาวพุทธของพระเจ้ากนิษกะที่รู้จักกันดังนี้:

พระพุทธรูปยืน

เหรียญรูปพระพุทธเจ้าของชาวกุษาณะ 6 เหรียญเท่านั้น ที่เป็นเหรียญทอง (เหรียญที่หกคือหัวใจหลักของเครื่องเพชรพลอยโบราณ ซึ่งประกอบด้วยเหรียญรูปพระพุทธเจ้าตกแต่งด้วยวงหินทับทิมรูปหัวใจ)เหรียญเหล่านั้นทั้งหมดถูกสร้างด้วยทองคำโดยคำสั่งของพระเจ้ากนิษกะที่ 1 และ มีประเภทที่แตกต่างกัน 2 คือ เหรียญหนักประมาณ 8 กรัมมีลักษณะหยาบมากคล้ายคล้ายกับเหรียญ aureus ของโรมัน และ 4 เหรียญมีน้ำหนักประมาณ 2 กรัม รูปพระพุทธเจ้านุ่งห่มจีวรพระ เรียกว่า ผ้าอันตรวาสก (สบง) ผ้าอุตตรวาสก (จีวร) และ ผ้ากันหนาว (สังฆาฏิ)

พระกรรณ(หู) มีลักษณะใหญ่และยาวมาก การสร้างเกินจริงเป็นสัญลักษณ์ที่น่าเป็นความจำเป็นที่แสดงออกมา เพราะเหรียญมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้ในพระพุทธรูปคันธาระที่โดยทั่วไปสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 8-9 พระพุทธรูปมีมวยผมเป็นปม มากมาย ครอบคลุม มักจะมีสไตล์หยิกสูงและมักจะมีลักษณะขดเป็นวงกลม ทั้งยังสามารถเห็นได้ในพระพุทธรูปสมัยคันธาระต่อมา

โดยทั่วไปแล้ว พระพุทธรูปที่ปรากฏบนเหรียญเหล่านั้น มีความเป็นสัญลักษณ์อย่างมากอยู่แล้ว ค่อนข้างจะแตกต่างจากความเป็นธรรมชาติมากและพบเห็นได้จากประติมากรรมแบบคันธาระก่อนหน้านั้น ในหลายๆดีไซน์มีพระมัสสุ (หนวด) ปรากฏให้เห็นชัดเจน ฝ่ามือข้างขวาแสดงสัญลักษณ์จักระ และระหว่างพระขนง(คิ้ว) มีพระอุนาโลม urna พระรัศมีก่อตัวจากพระวรกาย มี 2 หรือ 3 เส้นรอบรอบพระองค์จีวรที่ห่มคลุมทั้งตัวโดยพระพุทธเจ้าที่อยู่บนเหรียญ ปกคลุมไหล่ทั้งสอง แสดงให้เห็นว่าเป็นรูปแบบคันธาระมากกว่ารูปแบบมธุรา

พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า

พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า (เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า สิทธัตถะ โคตมะ) ประทับยืนหันพระพักตร์มาข้างหน้า มีพระหัตถ์ข้างซ้ายเหนือสะโพกกำลังแสดงท่าปางประทานอภัย abhaya mudra พร้อมกับพระหัตถ์เบื้องขวา เหรียญเหล่านั้นทั้งหมด เป็นเหรียญทองแดงล้วนล้วนๆและ ถูกใช้สวมใส่ มาค่อนข้างมาก

จีวรของพระศรีศากยะมุนีพุทธเจ้าค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับบนเหรียญทีมีพระนามปรากฏว่าพระพุทธเจ้า โชว์ให้เห็นพระวรกายอย่างชัดเจน ในรูปแบบที่ค่อนข้างโปร่งใส ผ้าเหล่านี้น่าจะเป็นผ้าสองชั้นของพระสงฆ์คือ ผ้าอันตรวาสก(ผ้าสบง) กับ ผ้าอุตตรวาสก (ผ้าจีวร) นอกจากนี้จีวรยังถูกม้วนคุมแขนซ้าย (คงจะถูกจับไว้ในมือซ้าย) ลักษณะเฉพาะตัวที่ทราบกันใน Bimaran casket และ ดูคล้ายๆกับผ้าพันคอ uttariya พระองค์มีพระโมฬี(จุก)วงกลมหลายๆอันทั่วพระเศียร และมีวงรัศมีหนึ่งหรือสองวง การแผ่พระรัศมีบางครั้งมีรอบๆพระเศียร

พระเมตตรัยพุทธเจ้า

พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์พระโพธิสัตว์ (พร้อมด้วยข้อความในตำนาน) ซึ่งนั่งขัดสมาธิอยู่บนบัลลังถือหม้อน้ำ และแสดงท่าปางให้อภัย Abhaya mudra เหรียญเหล่านี้ เป็นเหรียญที่รู้จักกันว่าเป็นเหรียญทองแดงและเป็นเหรียญค่อนข้างสึกกร่อน สำหรับบนเหรียญที่ชัดที่สุดพระศรีอริยเมตไตรย ดูเหมือนจะทรงสวมใส่ปลอกแขนของเจ้าชายชาวอินเดีย เป็นลักษณะที่มักจะพบบ่อยบนรูปปั้นของพระศรีอริยเมตไตรย สำหรับบัลลังก์นั้นประกอบด้วยเสาขนาดเล็ก บอกเป็นนัยยะว่าเหรียญของพระศรีอริยเมตไตรยได้รับอิทธิพลโดยตรงจากรูปปั้นที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นลักษณะที่รู้จักดี คุณสมบัติของรูปปั้นพระศรีอาริยเมตไตรยไม่สมส่วนซึ่งพระองค์เป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์ (พระองค์จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต)

ลักษณะทางกายภาพของเหรียญทั้งสามประเภทนี้มีลักษณะที่แตกต่างอย่างมากจากเทวรูป อื่นๆที่ปรากฏอยู่ในเหรียญของพระเจ้ากนิษกะ เทวรูปของพระเจ้ากนิษกะทั้งหมดจะปรากฏแสดงหันข้าง มีเพียงพระพุทธรูปที่หันพระพรักตร์ตรง ชี่ให้เห็นว่าเป็นการเลียนแบบจากพระพุทธรูปหันพระพักตร์ตรง แห่งพระพุทธรูปยืนและนั่ง ทั้งพระพุทธรูปพระพุทธเจ้าและพระศากยมุนีมีไหล่ทั้งสองคลุมด้วยจีวรพระ แสดงให้เห็นว่ารูปปั้นถูกจำลองแบบมาจากโรงเรียนศิลปะแห่งคันธาระ ค่อนข้างมากกว่าจากมถุรา

สถูปพระเจ้ากนิษกะ

ผอบของพระเจ้ากนิษกะ
  • รายละเอียดของรูปพระเจ้ากนิษกะได้รับการห้อมล้อมโดยสุริยเทพและจันทเทพของชาวอิหร่าน, บนผอบของพระเจ้ากนิษกะ. บริติชมิวเซียม.
  • พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าจากกนิษกะสถูปในเมืองเปชวาร์, ประเทศปากีสถาน, ชาวอังกฤษส่งไปที่เมืองมัณฑะเลย์, ประเทศพม่าปี พ.ศ. 2453.

ผอบพระเจ้ากนิษกะหรือที่บรรจุพระธาตุของพระเจ้ากนิษกะสร้างขึ้นในปีแรกของการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้ากนิษกะในปี พ.ศ. 670 ถูกค้นพบในห้องบรรจุผอบภายใต้สถูปของพระเจ้ากนิษกะ ในระหว่างการขุดทางโบราณคดีในปี พ.ศ. 2451 - 2452 ในบริเวณ Shah-Ji-Ki-Dheri พื้นที่ด้านนอกในทุกวันนี้ของประตู Ganj Gate ของเมืองเปศวาร์เก่า ทุกวันนี้ผอบอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เปศวาร์ และของเลียนแบบอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช ผอบถูกกล่าวว่าใช้บรรจุพระอัฐิสามชิ้นของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระบรมอัฐิทุกวันนี้ประดิษฐานอยู่ที่มัณฑเลย์ ประเทศพม่า

ผอบจารึกถึงการอุทิศในภาษาขโรษฐี จารึกอ่านได้ว่า:"(*mahara)jasa kanishkasa kanishka-pure nagare aya gadha-karae deya-dharme sarva-satvana hita-suhartha bhavatu mahasenasa sagharaki dasa agisala nava-karmi ana*kanishkasa vihare mahasenasa sangharame"

ข้อความถูกลงนามโดยผู้สร้าง ศิลปินชาวกรีกนามว่า Agesilas ผู้คอยควบคุมงานก่อสร้างที่สถูปของพระเจ้ากนิษกะ (caitya) เป็นการยืนยันถึงการมีส่วนร่วมโดยตรงของชาวกรีกกับการทำให้งานสำเร็จของชาวพุทธ ในวันที่ล่าช้าดังกล่าวต่อไปนี้ คนรับใช้นามว่า Agisalaos ผู้ควบคุมการก่อสร้างวิหารของพระเจ้ากนิษกะสังฆารามชื่อว่า Mahasena ("dasa agisala nava-karmi ana*kaniskasa vihara mahasenasa sangharame ทาสะ agisala นวกมฺมิ กนิสฺกสฺส วิหาร มหาเสนา สงฺฆาราม ")

ฝาของผอบแสดงพระพุทธรูปบนฐานที่เป็นดอกบัว ผู้ได้รับการนมัสการโดยพราหมณ์และพระอินทร์ ขอบของฝาตกแต่งด้วยลวดลายของห่านบิน ตัวของผอบปรากฏภาพพระมหากษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ บุคคลนั้นอาจจะเป็นพระเจ้ากนิษกะ พร้อมด้วยสุริยเทพและจันทเทพของชาวอิหร่าน ด้านข้างทั้งสองของพระพุทธรูปประทับนั่งได้รับกานมัสการโดยรูปปั้นคนยศสูง อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระเจ้ากนิษกะ ระเบียบดอกไม้จับแห่โดยเทวดาชื่อ cherubs เดินไปรอบรอบฉากในแบบฉบับสไตล์กรีก

แหล่งที่มาของผอบพระเจ้ากนิษกะ ยังเป็นที่โต้เถียงกันในทุกวันนี้ โดยเฉพาะที่สำคัญพื้นลักษณะรูปแบบ (ตัวอยางเช่น รูปผู้ปกครองที่อยู่บนผอบไม่มีหนวดเครา) รูปบนผอบถูกแทนที่ด้วยความเชื่อว่าเป็นรัชทายาทของพระเจ้ากนิษกะพระนามว่า หุวิชกะ Huvishka

พระเจ้ากนิษกะในการสืบทอดพระพุทธศาสนา

ในบันทึกของชาวพุทธ พระเจ้ากนิษกะมักจะไดรับการบรรยายว่าเป็นผู้ก้าวร้าวมีอารมณ์ร้อน แข็งกร้าว เข็มงวด และเป็นผู้ที่ค่อนข้างรุนแรง ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ซึ่งพระองค์ทรงพอพระทัยมาก และหลังจากการเปลี่ยนมานับถือศาสนา พระองค์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ทีมีพระทัยเปิดกว้าง มีความเมตตากรุณา และมีศรัทธาเต็มเปียม ตามที่ในพระสูตรมหายานชื่อ Sri-dharma-pitaka-nidana sutra ได้กล่าวไว้ว่า:

ณ เวลานี้ พระราชาแห่ง Ngan-si (Pahlava) เป็นคนก้าวร้าวและหัวรุนแรง มีพระภิกษุอรหันต์รูปหนึ่งเห็นการกระทำที่โหดร้ายของพระราชาจึงต้องการจะทำพระองค์ให้กลับตัวใหม่ ดังนั้น ด้วยกำลังอันเหนือธรรมชาติของเขา เขาจึงผู้ทำให้พระราชาเห็นความทุกข์ทรมานแห่งนรก พระราชาทรงกลัวและได้กลับเนื้อกลับตัวใหม่ และทรงร้องไห้อย่างหนัก ครั้นแล้วพระองค์ได้รับการละลายพฤติกรรมด้านลบในภายในของพระองค์และได้ตระหนักถึงตัวเองเป็นครั้งแรกในชีวิต

นอกจากนี้ การมาถึงของพระเจ้ากนิษกะได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือพยากรณ์โดยพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับการก่อสร้างสถูปของพระองค์

พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่เด็กน้อยผู้ที่กำลังสร้างเจดีย์ดินเหนียว (ตรัสว่า) ณ จุดนี้ กนิษกะจะสร้างเจดีย์ตามชื่อของเขา

เรื่องราวเดียวกันที่ถูกกล่าวถึงซ้ำแล้วซ้ำเล่าในม้วนกระดาษ Khotanese ที่ถูกพบใน Dunhuang ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อธิบายถึงการมาเกิดของพระเจ้ากนิษกะ 400 ปีหลังจากการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เอกสารนั้นยังอธิบายถึงพระเจ้ากนิษกะริเริ่มที่จะสร้างเจดีย์ของพระองค์

นักแสวงบุญชาวจีนที่เดินทางไปอินเดีย เช่น สมณะเสวียนจั้ง Xuanzang ผู้เดินทางไปที่นั่นราว พ.ศ. 1173 ยังได้ถ่ายทอดเรื่องราวไว้ว่า:

พระเจ้ากนิษกะกลายเป็นพระราชาแห่งชมพูทวีปทั้งหมด แต่พระองค์ไม่ทรงเชื่อในเรื่องกรรม แต่พระองค์รักษาพระพุทธศาสนาพร้อมด้วยเกียรติและความเคารพในฐานะที่พระองค์เองได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา และสนใจในคำสอนและคัมภีร์ เมื่อพระองค์เสด็จล่าสัตว์ในพื้นที่กว้าง ในขณะนั้นกระต่ายปรากฏขึ้น พระราชาสั่งให้ไล่ล่ากระต่าย ทันใดนั้นมันก็หายวับไปทันที ณ (ตรงบริเวณของสถูปในปัจจุบั้น) (เมื่อการก่อสร้างสถูปไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้) พระราชาทรงหมดความอดทนและยึดเอามาเป็นเรื่องสำคัญในมือของพระองค์เองและเริ่มรื้อฟื้นแผนใหม่ ดังนั้นสถูปจึงสำเร็จด้วยความสมบูรณ์แบบและความอุตสาหะอย่างสูงสุด สถูปสองแห่งเหล่านั้นยังคงอยู่ และถูกใช้สำหรับรักษาประชาชนผู้ทุกข์ทรมานจากโรค

พระเจ้ากนิษกะ เนื่องจากการกระทำของพระองค์ได้รับการเครารพยกย่องอย่างสูงได้รับเกียรติจากประชาชนทั้งปวง พระองค์ปกครองบริหารและได้รับการยกย่องให้เป็น มหาราช (กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่) จากผู้ที่เคยอยู่อาศัย เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ความอ่อนน้อมถ่อมตนและความรู้สึกแห่งความเสมอภาคและความถูกต้องชอบธรรมในทุกด้าน ดังนั้น การกระทำที่ยิ่งใหญและคุณลักษณะของพระเจ้ากนิษกะจึงทำให้พระนามของพระองค์เป็นอมตะและพระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็น ราชาธิราช (กษัตริย์แห่งกษัตริย์)

การส่งผ่านพระพุทธศาสนาไปยังประเทศจีน

พระเจ้ากนิษกะทรงขยายอาณาจักรไปยังแอ่งทาริม Tarim Basin อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งผ่านพระพุทธศาสนาไปยังจีน พระสงฆ์จากแคว้นคันธาระมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและส่งผ่านแนวคิดทางพระพุทธศาสนาไปในเส้นทางของเอเชียเหนือตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 7 พระสงฆ์ชาวกุษาณะ พระโลกะเกษม Lokaksema) พ.ศ. 721 เป็นนักแปลคนแรก ในการแปลคัมภีร์ชาวพุทธมหายานไปสู่ภาษาจีนและพิมพ์การแปล โรงพิมพ์อยู่ที่เมืองลั่วหยาง(ปัจจุบันคือเมืองลกเอี๋ยง)เมืองหลวงของจีนในอดีต ในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกพระสงฆ์ชาวพุทธปรากฏบทบาทในการประคับประคองการแลกเปลี่ยนอย่างแข็งขันในศตวรรษดังกล่าว

พระเจ้ากนิษกะอาจได้รับการสืบรัชทายาทโดยพระเจ้าหุวิชกะ Huvishka อย่างไรและเมื่อไรสำหรับเหตุการณ์นี้ยังไม่แน่ใจ มันเป็นความจริงที่ว่านั่นเป็นแค่พระราชาพระองค์หนึ่งทรงนามว่า กนิษกะ ในตำนานของชาวกุษาณะทั้งหมด จารึกบน Sacred Rock of Hunza ยังแสดงถึงการลายเซ็นของพระเจ้ากนิษกะ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ