พระเจ้ากนิษกะ
พระเจ้ากนิษกะ

พระเจ้ากนิษกะ

พระเจ้ากนิษกะ หรือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช (อังกฤษ: Kanishka, กุษาณะ: Κανηϸκι) เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรกุษาณะในเอเชียใต้ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ทรงมีชื่อเสียงจากความสำเร็จด้านการทหาร การปกครอง และฐานะผู้นำที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้กำหนดมหาศักราชขึ้นด้วย ที่สำคัญคือ ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของนิกายหินยาน ราชธานีของพระองค์คือเมืองเปศวรในประเทศปากีสถานปัจจุบัน พระเจ้ากนิษกะเป็นนัดดาของพระเจ้ากัทพิเสส ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกุษาณะ ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ. 621 พระองค์มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามากจนได้รับขนานนามว่า "พระเจ้าอโศกองค์ที่ 2" และทรงแผ่อาณาจักรกว้างไกลครอบคลุม คันธาระ แคชเมียร์ สินธุ และมัธยประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน และบางส่วนของอินเดีย) ในสมัยนี้พุทธศาสนามหายานแผ่ไปสู่เอเชียกลางและจีนอย่างรวดเร็ว วรรณคดีภาษาสันสกฤตได้เจริญรุ่งเรืองแทนภาษาบาลี พระภิกษุที่มีความรู้ในยุคนี้คือ ท่านปารศวะ ท่านอัศวโฆษ ท่านวสุมิตร เป็นต้นในด้านการแกะสลักพุทธศิลป์คันธาระ ซึ่งเริ่มต้นในสมัยพระเจ้ามิลินท์ ก็มีความเจริญอย่างขีดสุดในสมัยพระองค์ พระองค์ทรงสร้างวัดวาอาราม เจดีย์วิหารอย่างมากมาย พระเหี้ยนจึงพระสงฆ์ชาวจีนผู้จาริกสู่อินเดียเมื่อราว พ.ศ. 1100 เมื่อจาริกถึงเมืองปุรุษปุระ เมืองหลวงของพระองค์จึงกล่าวว่าพระเจ้ากนิษกะ ทรงสร้างวิหารหลังหนึ่ง ทรงให้นามว่า "กนิษกะมหาวิหาร" แม้ว่าพระวิหารจะทรุดโทรมลงแล้ว แต่พระวิหารมีศิลปะที่งดงามยากที่จะหาที่ใดเหมือน และยังมีพระภิกษุอาศัยอยู่บ้าง ทั้งหมดเป็นพระนิกายหินยานหรือเถรวาท พระเจ้ากนิษกะครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 621 - พ.ศ. 644 รวมระยะเวลา 23 ปีพระองค์เป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านกองทัพความสำเร็จทางด้านการเมืองและจิตวิญญาณ บรรพบุรุษที่เป็นผู้ก่อตั้งจักรพรรดิกุษาณะคือ คุชุลา กัทพิเสส (Kujula Kadphises) พระเจ้ากนิษกะได้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิบักเตรียขยายออกตั้งแต่ เทอร์ฟัน (Turfan) ในแอ่งทาริม Tarim Basin ไปถึงเมืองปาฏลีบุตรบนที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา เมืองหลวงหลักของจักรวรรดิของพระองค์คือเมืองในบุรุษปุระ (Puruṣapura) ในแคว้นคันธาระ และมีเมืองใหญ่เมืองอื่นอีกคือเมืองกาปิสะ(Kapisa) การพิชิตและการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระองค์แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการพัฒนาเส้นทางสายไหมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายานจากแคว้นคันธาระผ่านหุบเขาคาราโครัมไปถึงประเทศจีน นักวิชาการก่อนหน้านี้เชื่อว่าพระเจ้ากนิษกะเสด็จขึ้นสู่บัลลังก์ในปี พ.ศ. 621 และวันที่นี้ในปีนั้นก็ถูกใช้เป็นปีเริ่มต้นแห่งปฏิทินศักราช อย่างไรก็ตามวันที่นี้ในตอนนี้ไม่ได้รับการถือว่าเป็นวันที่ทางประวัติศาสตร์ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระเจ้ากนิษกะ ไม่นานมานี้ปี พ.ศ 2544 นักวิชาการชื่อว่า Falk ได้กะประมาณการว่า พระเจ้ากนิษกะเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 666

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ