ประวัติการสร้างและการจัดฉาย ของ พระเจ้าช้างเผือก_(ภาพยนตร์)

พระเจ้าช้างเผือกเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทางนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ประสงค์ให้เป็นภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ความเป็นชาติรัฐของไทยในช่วงเวลานั้น เพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติ เนื่องจากภาวะของประเทศที่ใกล้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับบุญบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้าช้างเผือก หรือ พระเจ้าจักรา กษัตริย์ไทย กระทำยุทธหัตถีชนะพระเจ้าหงสา ฯ กษัตริย์พม่า ซึ่งเป็นเรื่องราวที่คาบเกี่ยวในประวัติศาสตร์ไทยถึง 2 รัชกาล คือ รัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถ่ายทำที่โรงถ่ายไทยฟิล์ม, ทุ่งมหาเมฆ และจังหวัดแพร่ ได้รับความร่วมมือจากนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจำนวนมากซึ่งสละเวลาช่วยท่านผู้ประศาสน์การโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

การถ่ายภาพขาว-ดำ ได้อย่างยอดเยี่ยมของ ประสาท สุขุม A.S.C. โดยเฉพาะการถ่ายภาพช้างจากเบื้องล่างเพื่อให้ได้ความรู้สึกยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นเทคนิคที่กำลังนิยมใช้ในหนังทุนสูงของฮอลลีวูด โดยทีมงานขุดหลุมให้ช่างภาพลงไปตั้งกล้องมุมเงย ถ่ายภาพช้างเดินข้ามผ่านหลุมไป เป็นต้น

การสร้างดนตรีเป็นองค์ประกอบที่โดดเด่นที่สุดอีกอย่างหนึ่งได้แก่ เพลง ศรีอยุธยา ซึ่งกระหึ่มด้วยวงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร โดย ศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานและควบคุมวง มี 3 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนที่หนึ่ง เพลงเอกและไตเติ้ลประจำเรื่อง คือ ศรีอยุธยา (ทำนองเก่า "สายสมร" สมัยพระนารายณ์ซึ่งลาลูแบร์ บันทึกไว้เป็นโน้ตดนตรี)[5]
  • ส่วนที่สอง เพลงที่ใช้บรรเลงระหว่างฉากใช้เพลงคลาสสิกเป็นท่อนๆ หลายบทเพลงด้วยกัน เพลงประกอบเสียง ใช้เครื่องดนตรีบางชิ้น เช่น เปิงมางคอก มโหรทึก ปี่กลอง
  • ส่วนที่สาม เพลงที่ใช้อารมณ์ในแต่ละฉากเป็นสำคัญเช่นเดียวกับหนังฮอลลีวูดยุคนั้น ไม่ใช่เพลงประกอบภาพเสียทีเดียว แต่เป็นภาพประกอบเพลง[6]

นอกจากนี้ งานดุริยางค์สากล กรมศิลปากรได้นำเพลงศรีอยุธยาและเพลงไทยในภาพยนตร์มาเรียบเรียงเป็นเพลงเรื่อง ประกอบด้วยสายสมร, ขับไม้บัณเฑาวะว์, อโยธยาคู่ฟ้า ใช้บรรเลงในการแสดงคอนเสิร์ตและรายการโทรทัศน์ [7] [8]

The King of The White Elephant ออกฉายที่โรงภาพยนตร์ Happy Theatre ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ. 2484

ต้นฉบับเดิมที่ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยฉายรอบปฐมทัศน์พร้อมกันที่ ศาลาเฉลิมกรุง สิงคโปร์ และ นิวยอร์ก เป็นภาพยนตร์ไทยพูดด้วยภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ต่างชาติได้รู้จัก ใช้ทุนสร้างสูง มีฉากที่ยิ่งใหญ่ เช่น การนำช้างกว่า 150 เชือกเข้าสู่ฉากคล้องช้าง และฉากยุทธหัตถี โดยได้รักความร่วมมือเอื้อเฟื้อจัดหาช้างโดยไม่คิดมูลค่าจากเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ เป็นต้น แต่การฉายที่สหรัฐอเมริกากลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ฉายได้เพียง 7 วันเท่านั้นก็ยกเลิก เนื่องจากไม่มีคนดู

ฟิล์มต้นฉบับเรื่องนี้สูญหายไปจากประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากอาคารเก็บฟิล์มของโรงถ่ายภาพยนตร์ทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ ถูกระเบิดไฟไหม้ทั้งหมด แต่ยังคงมีสำเนาต้นฉบับหลงเหลืออยู่ที่หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน กรุงวอชิงตัน และที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ในประเทศสวีเดน [9]

27 ปีต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2523 มีการจัดฉายพิเศษซึ่งเป็นการกลับมาของภาพยนตร์อีกครั้งที่ สยามสมาคม (ติดกับโรงภาพยนตร์ที่เคยเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ต้นถนนอโศก แยกจากถนนสุขุมวิท) แต่คาดว่าเป็นสำเนา 16 มม.คนละฉบับกับที่หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เพราะไตเติ้ลคนละแบบและความยาวที่แตกต่างกันมากเกือบครึ่งหนึ่งของต้นฉบับเดิม[10]

ปัจจุบัน ฟิล์มภาพยนตร์ ยังเก็บและรักษาไว้อยู่ที่ หอภาพยนตร์แห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ และนำออกฉายบ่อยครั้งทั้งในประเทศและส่งออกไปฉายที่ต่างประเทศ[11]

ต้นปี พ.ศ. 2544 ได้กลับมาฉายอีกครั้งและมีการผลิตวีซีดีออกจำหน่ายในโครงการ "หนังไทยรักชาติ" ของบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด พร้อมกับเรื่องอื่นในแนวเดียวกัน เช่น มหาราชดำ (พ.ศ. 2522), ขุนศึก (พ.ศ. 2495), พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (พ.ศ. 2518), ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (พ.ศ. 2543) เป็นต้น

หอภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท เทคนิคัลเลอร์ [12] ได้บูรณะฟิล์มภาพยนตร์ และจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี เมื่อ พ.ศ. 2548 [13][14]

พระเจ้าช้างเผือกได้ถูกฉายทางสถานีโทรทัศน์สาธารณะ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ในรายการแกะกล่องหนังไทย ทางทีวีไทย[15]

ปี พ.ศ. 2554 หอภาพยนตร์ฉลองครบรอบ 70 ปี พระเจ้าช้างเผือก การออกฉายภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก หอภาพยนตร์ฯ จึงเลือกวันสวนสนามเสรีไทย ในการเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่และความสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ รวมทั้งเปิดฉายภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือกเวอร์ชันพากย์ไทยเป็นครั้งแรก วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์[16][17]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าช้างเผือก_(ภาพยนตร์) http://www.imdb.com/title/tt0415099/ http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.p... http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.p... http://www.rottentomatoes.com/vine/journal_view.ph... http://www.siamzone.com/movie/m/115 http://www.technicolor.com/NR/rdonlyres/0650CEFE-B... http://www.thaifilm.com/articleDetail_en.asp?id=68 http://www.thaifilm.com/newsDetail.asp?id=149 http://www.thaifilm.com/newsDetail.asp?id=25 http://www.thaifilm.com/supportDetail.asp?id=58