พระราชประวัติ ของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

ทรงพระเยาว์

ตามมหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ระบุว่า ประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2059 ที่เมืองตองอู ก่อนประสูติมีลางบอกเหตุ ปรากฏฝนตกลงมาที่ใดก็เกิดลุกเป็นไฟ โหรหลวงทำนายว่าเป็นลางมงคล พระโอรสที่จะประสูติเป็นผู้มีบุญญาธิการ ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาทั้งที่มีพระชนมายุไม่ถึง 20 พรรษา มีพระนามว่า "ตะเบ็งเฉวฺ่ที" (ไทยเรียกเพี้ยนเป็น "ตะเบ็งชะเวตี้" พระนามมีความหมายแปลได้ว่า สุวรรณเอกฉัตร - ร่มทอง) และภายหลังขึ้นครองราชย์ พระนามได้เปลี่ยนเป็น "เมงตะยาเฉวฺ่ที" มีความหมายว่า "พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง" (คำว่าเมงตะยานี้เป็นที่มาของชื่อมังตราในนิยายผู้ชนะสิบทิศ) มีมเหสี 2 พระองค์ นามว่า ขิ่นเมียะ และขิ่นโพงเซวฺ ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2079-2093

การสงคราม

ทรงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ เพราะตลอดรัชกาลพระองค์ทำสงครามเป็นส่วนใหญ่ ก่อนขึ้นครองราชย์ เมื่อเจริญพระชนมพรรษาขึ้นได้ทรงกระทำพิธีเจาะพระกรรณ (เจาะหู) อันเป็นราชประเพณีของพม่าเช่นเดียวกับพระราชพิธีโสกันต์ของไทย โดยเลือกที่จะทำพิธีที่เจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุมุเตา) กลางเมืองหงสาวดีของมอญ โดยมีทหารคุ้มกันแค่ 500 นาย โดยไม่ทรงหวาดหวั่นทหารมอญนับหมื่นที่ล้อมอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และเมื่อทรงครองราชย์ พระองค์ได้ทำการสงครามแผ่ขยายอาณาจักรตองอูไปตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น หงสาวดี เมาะตะมะ แล้วเสด็จกลับมากรุงหงสาวดี ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าหงสาวดีในปี พ.ศ. 2088[5] และสถาปนามินจีเสว่เป็นพระเจ้าเมงเยสีหตูครองเมืองตองอูแทนในฐานะเจ้าเมืองออก[6] ต่อมาทรงพิชิตเมืองแปรได้ก็สำเร็จโทษพระเจ้ามังฆ้องและพระมเหสีรวมทั้งขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหมด แล้วสถาปนานิต่าเป็นพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 1 ครองเมืองแปรแทน แม้หลังจากนั้นจะทรงตีกรุงอังวะและกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ แต่ยังทรงได้เมืองยะไข่[7] พะสิม เป็นต้น ทำให้สามารถขยายอาณาจักรครอบคุลมปากแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำสาละวินได้ นับเป็นกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่เอาชนะหงสาวดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของชาวมอญคู่ปรับสำคัญของชาวพม่าในอดีตได้

การสวรรคต

หลังจากสิ้นสงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัยได้เพียง 3 เดือน ตามพงศาวดารเล่าว่า พระองค์เสวยแต่น้ำจัณฑ์จนเสียสติ และสวรรคตในวันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2093 ขณะพระชนมายุ 34 พรรษา เพราะถูกทหารรับใช้คนสนิทชาวมอญชื่อสมิงสอตุตลอบปลงพระชนม์ด้วยการตัดพระศอระหว่างเสด็จไปคล้องช้าง ทำให้ปลอดทหารผู้ภักดีคอยถวายอารักขา

ด้วยชีวประวัติอันพิสดารและน่าสนใจ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์พม่าช่วงนี้เป็นแรงบันดาลใจให้นักเขียนชาวไทยชื่อยาขอบ ได้หยิบยกขึ้นมาแต่งเป็นนิยายพงศาวดารชื่อดัง คือ ผู้ชนะสิบทิศ[8]

ปัจจุบัน พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ได้รับการนับถือเป็นนัตหลวง ลำดับที่ 17 ในบรรดานัตหลวง 37 องค์ ตามความเชื่อเรื่องผีนัตของพม่าอีกด้วย[9]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ