สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้
สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

12,000 นาย
2091–2092
6000 นาย2091–2092
ไม่ทราบสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ หรือ สงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย[5] เป็นสงครามครั้งแรกระหว่างราชวงศ์ตองอูแห่งพม่ากับอาณาจักรอยุธยา และเป็นสงครามพม่า–ไทยครั้งแรกซึ่งจะดำเนินมาจนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 สงครามนี้ขึ้นชื่อว่านำมาซึ่งการสงครามสมัยใหม่ตอนต้นในภูมิภาค และขึ้นชื่อในประวัติศาสตร์ไทยว่าสมเด็จพระสุริโยทัยสมเด็จพระราชินีสวรรคตในยุทธหัตถีเหตุแห่งสงครามมีว่าพม่าพยายามขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกหลังมีความวุ่นวายทางการเมืองในอยุธยา ตลอดจนพยายามหยุดการรุกล้ำเข้าชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนของอยุธยา พม่าว่าสงครามนี้เริ่มในเดือนมกราคม 2090 เมื่อกำลังของอยุธยาพิชิตเมืองชายแดนทวาย ในปีเดียวกันกองทัพพม่านำโดยแม่ทัพเจ้าลครอิน ยึดฝั่งตะนาวศรีตอนบนลงไปถึงทวายคืนได้ ในปีถัดมาคือ ตุลาคม 2091 กองทัพพม่าสามกองโดยมีพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้และอุปราชบุเรงนองเป็นผู้นำบุกอยุธยาทางด่านเจดีย์สามองค์ กองทัพพม่าเจาะลึกถึงพระนครอยุธยาแต่ไม่อาจหักเอานครที่มีป้อมปราการหนาแน่นได้ หนึ่งเดือนหลังเริ่มล้อม การตีโต้ตอบของอยุธยาแก้การล้อมได้และขับกำลังฝ่ายบุกครอง แต่พม่าเจรจาการถอยทัพอย่างปลอดภัยโดยแลกกับการคืนองค์เจ้านายสำคัญสองพระองค์ คือ พระราเมศวร พระรัชทายาท และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแห่งพิษณุโลก ที่ถูกจับเป็นเชลยอย่างไรก็ตาม ชัยชนะครั้งนี้เป็นชัยชนะที่ไม่เด็ดขาด จึงได้นำไปสู่การบุกครองอีกครั้งในสงครามช้างเผือก รัชกาลพระเจ้าบุเรงนอง ใน พ.ศ. 2106 และสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง ใน พ.ศ. 2112 ตามลำดับ

สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่พ.ศ. 2090–2092
สถานที่ภาคตะวันออกและใต้ของพม่า ภาคตะวันตกและภาคกลางของอาณาจักรอยุธยา
ผลลัพธ์อยุธยาชนะ
สถานที่ ภาคตะวันออกและใต้ของพม่า ภาคตะวันตกและภาคกลางของอาณาจักรอยุธยา
ผลลัพธ์ อยุธยาชนะ
วันที่ พ.ศ. 2090–2092

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด