การพักรบ ของ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

การจับองค์พระราเมศวรและพระมหาธรรมราชาบังคับให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจรจากับพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ฝ่ายอยุธยาพลันส่งทูตที่นำของกำนัลเสนอการถอยทัพอย่างสันติแลกกับเจ้าสองพระองค์[39][42] เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิถูกบังคับให้ทรงมอบพระคชาธารสองเชือกแก่พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ คือ พลายศรีมงคลและพลายมงคลทวีปซึ่งเป็นช้างชนะงา[40] เมื่อมีการส่งมอบช้างแล้ว ทัพพม่าจึงถอยไปอย่างสงบ นอกเหนือจากเจ้าสองพระองค์แล้ว พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ยังทรงปล่อยเชลยอีกหลายคนที่ถูกจับระหว่างการทัพด้วย[39][42] ตามบันทึกของพม่า พระมหากษัตริย์อยุธยายังทรงตกลงให้ของกำนัลเป็นช้าง 30 เชือก เงินจำนวนหนึ่งและอากรศุลกากรจำนวนหนึ่ง[43]

หลังสนธิสัญญา พระมหากษัตริย์พม่าทรงพักแปดวัน แล้วเสด็จกลับพะโค พระองค์เสด็จถึงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2082[44]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม