ความเกี่ยวข้องกับการสืบราชสมบัติ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์

ในพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระบรมวงศ์ผู้ทรงอาวุโส ช่วงใกล้จะเสด็จสวรรคตนั้น พระนามของกรมขุนพิพิธฯ นั้นปรากฏอยู่ในรายชื่อเจ้านายสี่พระองค์ที่ทรงหมายจะให้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ โดยรายชื่อดังกล่าวมีชื่ออยู่ด้วยกัน 4 พระองค์ ประกอบด้วย

  1. ท่านฟ้าใหญ่ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
  2. ท่านฟ้าน้อย (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)
  3. กรมขุนเดช (กรมขุนเดชอดิศร พระองค์เจ้ามั่ง ต่อมาในรัชกาลที่ 4 สถาปนาเป็น กรมสมเด็จพระเดชาดิศร หรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร)
  4. กรมขุนพิพิธฯ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์)

กรมพระพิพิธฯ มีเจ้ากรม และจางวาง เป็นพวกราชินิกุลบางช้างพระญาติพระวงศ์ รวมทั้งข้าหลวงคนน้ำข้าในกรมอีกมาก ครั้นเมื่อปลายรัชกาลที่ 3 ครั้งทรงพระประชวรจวนจะเสด็จสวรรคต กรมพระพิพิธฯ ท่านมีข้าในกรมมากมาย ซึ่งส่วนมากเป็นเชื้อสายพวกบางช้างดังกล่าว เมื่อคราวสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ สวรรคต พวกข้าในกรมก็เคยหวังกันไว้ว่าเจ้านายจะได้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลฯ กรมพระพิพิธฯ จึงทรงพระวิตกว่า หากเปลี่ยนรัชกาลไม่ว่าท่านพระองค์ใดจะเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่อำนาจก็คงอยู่ที่เจ้าพระยาพระคลัง (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์) และพระยาศรีพิพัฒน์ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ) ซึ่งอาจจะพาลหาเหตุเอาผิดกับท่าน กรมพระพิพิธฯ จึงทรงระดมผู้คนพวกข้าในกรมที่อยู่ข้างนอกเข้ามาอยู่ในวัง ข้าในกรมของท่านมีมากมายดังกล่าวพากันเข้ามาอยู่ระวังรักษาพระองค์ล้นหลามจนต้องไปอาศัยนอนวัดโพธิ์ที่อยู่ใกล้ ๆ ความทราบถึงเจ้าพระยาพระคลังจึงได้ไปเฝ้าปรับความเข้าใจ เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อย กรมพระพิพิธฯ ปล่อยข้าในกรมกลับไปหมด

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ