พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ
พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ

พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ

พระเจ้าปุศยมิตรศุงคะ (อักษรโรมัน: Pushyamitra Shunga Puṣyamitra Śuṅga) (ขึ้นครองราชย์เมื่อ ป. 185 –  149 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นปฐมกษัตริย์ของ จักรวรรดิศุงคะ ซึ่งเขาก่อตั้งขึ้นโดยการทำรัฐประหารกับราชวงศ์เมารยะ[1] เขาเป็นสาวกของ ศาสนาฮินดู และเป็นที่รู้จักในเรื่องการสถาปนาการปกครองของชาวฮินดูดั้งเดิมในอินเดียเหนือเดิมทีพระองค์เป็น เสนาบดี ของ ราชวงศ์เมารยะ ในปี 185 ก่อนคริสตกาลเขาได้ลอบสังหาร พระเจ้าพฤหทรถะเมารยะ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ ระหว่างการตรวจพลและปราบดาภิเษกพระองค์เองเป็นกษัตริย์พระองค์ได้ประกอบพิธีอัศวเมธ หรือพิธีปล่อยม้าอุปการตามประเพณีของกษัตริย์อินเดียโบราณ ซึ่งมีการค้นพบจารึกของราชวงศ์ศุงกะอย่างมากมายจนถึง อโยธยา (Dhanadeva-Ayodhya inscription) และ ทิพยวทานะ กล่าวว่าอาณาจักรของพระองค์ได้ขยายออกไปไกลถึงสาคละหรือเสียลโกต ใน แคว้นปัญจาบ ทางตะวันตกเฉียงเหนือตำราทางพระพุทธศาสนาระบุว่าพระองค์เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา[2] แม้ว่านักวิชาการสมัยใหม่บางคนจะแสดงความสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้ก็ตาม

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ